Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Industry Analysis
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
เป็นการวิเคราะห์ภาวะของอุตสาหกรรมของบริษัทที่สนใจลงทุน ว่ามีลักษณะและแนวโน้มที่ดีหรือไม่ โดยพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม (Growth) ช่วงวงจรชีวิตของอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) รวมถึงภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competition) และคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในอนาคต (Trend)เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
1) ความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจ (Sensitivity to the Business cycle) การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจระหว่างรุ่งเรืองกับชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระดับที่แตกต่างกัน เราสามารถจำแนกประเภทอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 อุตสาหกรรมที่เติบโตสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ
1.2 อุตสาหกรรมที่เติบโตในระดับเดียวกับเศรษฐกิจ
1.3 อุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรม มีความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจมากเพียงไร คือ ยอดขายของสินค้าหรือบริการ เช่น ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา หรือบริการด้านการแพทย์ มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจต่ำ เนื่องจากอาหาร ยา การแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การบริโภคก็ยังคงมีความจำเป็นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ ในขณะที่ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้าง ยานยนต์ การขนส่ง มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจสูง เนื่องจากปริมาณการบริโภคในสินค้าหรือบริการเหล่านี้ อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากต้นทุนการดำเนินการ และต้นทุนทางการเงิน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เงินกู้สูง จะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมาก ผู้ลงทุนควรกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุน โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจด้วย เช่น ถ้าขณะนั้น เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ลงทุนควรเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ เป็นต้น
2) วงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) เป็นรูปแบบขั้นตอนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น คือ
(1) ขั้นบุกเบิก (Start-up) มีผู้ผลิตน้อยราย ยอดขายเติบโตช้า ผลิตภัณฑ์ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ กำไรต่ำหรือขาดทุน และอัตราการล้มเหลวของกิจการสูง
(2) ขั้นเจริญเติบโต (Consolidation) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด ยอดขายเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เริ่มมีคู่แข่งเข้ามาในตลาด แต่การแข่งขันอาจยังไม่รุนแรง ทำให้กำไรมีโน้มเอียงสูงขึ้น
(3) ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity) ยอดขายเพิ่มในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเข้ามาแข่งขัน ทำให้การแข่งขันเริ่มรุนแรง กำไรมีแนวโน้มลดลง
(4) ขั้นถดถอย (Declination) ยอดขายลดลง ผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาทดแทน อัตรากำไรลดลง เริ่มมีบางกิจการถอนตัวออกไปจากตลาด
1.1 อุตสาหกรรมที่เติบโตสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ
1.2 อุตสาหกรรมที่เติบโตในระดับเดียวกับเศรษฐกิจ
1.3 อุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรม มีความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจมากเพียงไร คือ ยอดขายของสินค้าหรือบริการ เช่น ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา หรือบริการด้านการแพทย์ มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจต่ำ เนื่องจากอาหาร ยา การแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การบริโภคก็ยังคงมีความจำเป็นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ ในขณะที่ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้าง ยานยนต์ การขนส่ง มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจสูง เนื่องจากปริมาณการบริโภคในสินค้าหรือบริการเหล่านี้ อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากต้นทุนการดำเนินการ และต้นทุนทางการเงิน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เงินกู้สูง จะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมาก ผู้ลงทุนควรกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุน โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจด้วย เช่น ถ้าขณะนั้น เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ลงทุนควรเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ เป็นต้น
2) วงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) เป็นรูปแบบขั้นตอนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น คือ
(1) ขั้นบุกเบิก (Start-up) มีผู้ผลิตน้อยราย ยอดขายเติบโตช้า ผลิตภัณฑ์ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ กำไรต่ำหรือขาดทุน และอัตราการล้มเหลวของกิจการสูง
(2) ขั้นเจริญเติบโต (Consolidation) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด ยอดขายเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เริ่มมีคู่แข่งเข้ามาในตลาด แต่การแข่งขันอาจยังไม่รุนแรง ทำให้กำไรมีโน้มเอียงสูงขึ้น
(3) ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity) ยอดขายเพิ่มในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเข้ามาแข่งขัน ทำให้การแข่งขันเริ่มรุนแรง กำไรมีแนวโน้มลดลง
(4) ขั้นถดถอย (Declination) ยอดขายลดลง ผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาทดแทน อัตรากำไรลดลง เริ่มมีบางกิจการถอนตัวออกไปจากตลาด
การเลือกอุตสาหกรรมที่จะลงทุน สิ่งสำคัญจะต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิต เพื่อที่จะได้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ลงทุนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้ลงทุนบางท่านอาจสนใจธุรกิจที่อยู่ในขั้นบุกเบิก หรือธุรกิจที่อยู่ในขั้นเจริญเติบโต เพราะมองว่ามีแนวโน้มที่ดีในการเติบโตต่อไป ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น กล่าวคือ หวังว่าผลตอบแทนที่ได้น่าจะสูง แต่ทั้งนี้ ก็ควรตระหนักด้วยว่าความเสี่ยงก็อาจสูงด้วย แต่สำหรับผู้ลงทุนที่มองว่าธุรกิจในขั้นเติบโตเต็มที่นั้น น่าสนใจกว่าก็อาจมองว่า ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และเห็นว่าธุรกิจที่อยู่ในขั้นนี้ ไม่ต้องการเงินทุนไปขยายกิจการเท่าไรนัก ก็อาจมีโอกาสจะได้รับเงินปันผล เป็นต้น
3) ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม แต่ละอุตสาหกรรมย่อมมีภาวะการแข่งขันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยหลักเพื่อการพิจารณามี 5 ข้อคือ
(1) การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน : ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง บริษัทอาจจะดำเนินธุรกิจได้ลำบาก แต่ในขณะเดียวกันอาจมองได้ว่า บริษัทที่ยังอยู่รอดในอุตสาหกรรมนั้น ย่อมหมายถึงบริษัทนั้นมีความแข็งแกร่งเพียงพอ
(2) การเข้ามาของคู่แข่งใหม่ : หากคู่แข่งเข้ามาได้ยาก แสดงว่าแนวโน้มที่บริษัทจะทำธุรกิจได้กำไรดีก็จะมีสูง
(3) สินค้าทดแทน : หากสินค้าทดแทนในตลาดมีมาก ก็อาจจะทำให้บริษัทดำเนินการได้ลำบากขึ้น
(4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ : ถ้าผู้ซื้อมีอำนาจมาก นั่นหมายถึงผู้ซื้อสามารถที่จะต่อรองราคาให้ต่ำลงก็อาจทำให้ยากต่อการขายสินค้าและอาจทำให้ได้กำไรต่ำกว่าที่คาดหมายไว้
(5) อำนาจการต่อรองของบริษัทผู้ขายวัตถุดิบ : ถ้าบริษัทมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบน้อย ย่อมทำให้การทำธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะจะทำให้ราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรที่ได้ลดต่ำลง
3) ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม แต่ละอุตสาหกรรมย่อมมีภาวะการแข่งขันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยหลักเพื่อการพิจารณามี 5 ข้อคือ
(1) การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน : ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง บริษัทอาจจะดำเนินธุรกิจได้ลำบาก แต่ในขณะเดียวกันอาจมองได้ว่า บริษัทที่ยังอยู่รอดในอุตสาหกรรมนั้น ย่อมหมายถึงบริษัทนั้นมีความแข็งแกร่งเพียงพอ
(2) การเข้ามาของคู่แข่งใหม่ : หากคู่แข่งเข้ามาได้ยาก แสดงว่าแนวโน้มที่บริษัทจะทำธุรกิจได้กำไรดีก็จะมีสูง
(3) สินค้าทดแทน : หากสินค้าทดแทนในตลาดมีมาก ก็อาจจะทำให้บริษัทดำเนินการได้ลำบากขึ้น
(4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ : ถ้าผู้ซื้อมีอำนาจมาก นั่นหมายถึงผู้ซื้อสามารถที่จะต่อรองราคาให้ต่ำลงก็อาจทำให้ยากต่อการขายสินค้าและอาจทำให้ได้กำไรต่ำกว่าที่คาดหมายไว้
(5) อำนาจการต่อรองของบริษัทผู้ขายวัตถุดิบ : ถ้าบริษัทมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบน้อย ย่อมทำให้การทำธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะจะทำให้ราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรที่ได้ลดต่ำลง
ผู้นำเสนอ คุณวิโรจน์ ศรีเหรัญ เลขที่ 24
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น