วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การนำเสนอ Value Chain Analysis

Framework Management Tool Box ด้าน Planning :   Value  Chain Analysis
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
                การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)  คือกิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่อเนื่องเหมือนลูกโซ่  เพื่อมอบคุณค่าทั้งหมดให้ผู้บริโภคโดยแต่ละกิจกรรม  มีส่วนช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เป็นช่วง ๆ นั้นนับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย จนถึงการนำสินค้าไปถึงผู้บริโภค
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ

1.              กิจกรรมหลัก (Primary Activity) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
Inbound Logistics : การเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต
Operation : การผลิตและทดสอบรวมทั้งเครื่องมือในการผลิตและประกอบสินค้า
Outbound Logistics : การเก็บรักษาสินค้าที่ผลิตแล้วและเตรียมพร้อมที่จะจัดส่งต่อไป
Marketing and Sales : การโฆษณา การส่งเสริมการตลาด การตั้งราคาและช่องทางการจัดจำหน่าย
Service : บริการหลังการขาย
2.              กิจกรรมสนับสนุน (Support Activity) เป็นการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อสนับสนุน กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
Procurement : การจัดซื้อ
Technology Development : การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการในการปรับปรุง
Human Resource Management : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การคัดเลือก
Firm Infrastructure : การจัดการทั่วไป เช่น บัญชี การเงิน กลยุทธ์ การตลาด


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
Value Chain ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและวิเคราะห์กิจกรรม โดยแนวความคิด Value Chain ได้แบ่งกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กรออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยพิจารณาในแง่ความสำคัญต่อการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร นักบริหารสามารถศึกษาถึงลักษณะความสำคัญและความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมโดยที่องค์กรธุรกิจสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้โดยการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ในต้นทุนที่ถูกกว่าหรือก่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขัน

ข้อดีของเครื่องมือ
มีการนำทรัพยากรขององค์กรมาวิเคราะห์เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดแก่องค์กรและมีกิจกรรมใดเป็นจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร  เพื่อนำมาปรับปรุงและนำมาปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งเพื่อเพิ่มความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้แก่องค์กร

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
                ทำการวิเคราะห์กิจกรรมต่าง ๆ ในห่วงโซ่แห่งคุณค่า ทั้งกิจกรรมกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน จะทำให้เห็นภาพอย่างเป็นระบบว่าในแต่ละกิจกรรมที่สำคัญนั้น  บริษัทของเราทำอะไรได้บ้าง  หลังจากนั้นจะทำการประเมินว่ากิจกรรมเหล่านั้นเราทำได้ดีเพียงใด  กิจกรรมใดทำได้ดีที่สุด กิจกรรมใดทำได้แย่ที่สุด  สิ่งที่ทำได้ได้ดีที่สุด เป็นที่น่าพอใจของลูกค้านำมาจัดกลุ่มได้ว่าเป็นจุดแข็งบริษัท ส่วนที่ทำได้ไม่ดีและกระทบต่อความพึงพอใจลูกค้าอย่างมาก ก็นำมาจัดกลุ่มเป็นจุดอ่อนของกิจการ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง ได้นำแนวคิดเรื่องการบริหารคุณค่ามาใช้อย่างจริงจังตามแนวทางของHolcim Value Chain ได้แก่ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ปูนซีเมนต์พิเศษที่มี คุณภาพเยี่ยมสำหรับการฉาบโดยเฉพาะ คือ ปูนอินทรีทองซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสำคัญ (Value Customer) ที่ต้องการความประณีต และประหยัด ในการฉาบ (Value Proposition) เป็นบริษัทแรกในตลาด ทั้งนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการกระจายสินค้าปูนอินทรีทองแบบใหม่ (Value Network)เช่น นำรูปแบบการจัดส่งบนแผ่นรองสินค้า ซึ่งพันรอบด้วยพลาสติกมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าสายงานการจัดส่งและการส่งออก
http://www.logisticsdigest.com/index.php?option=com_content&task=view&id=451
คุณสิริพรชัย ธเนศธรรมกิตติ์ื เลขที่ 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น