วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

14 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : PMQA


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : PMQA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นแนวทางที่จะพัฒนา องค์กรให้มีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า High Performance Organization การมีประสิทธิภาพนี้บ่งบอกถึงองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ  ซึ่งประเทศไทยโดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจาก MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย และกำหนดเป็น “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PMQA คือการนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์การที่เป็นเลิศ ซึ่งได้ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลโลกมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  PMQA ก็คือ การนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์กรที่เป็นเลิศ ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากลระดับโลก มาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีแรงจูงใจในรูปของรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
1.               ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายภาพรวมของส่วนราชการ สภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติภารกิจความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติราชการ ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ และระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการบริหารจัดการการดำเนินการขององค์กรโดยรวม ลักษณะสำคัญขององค์กร ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
-                    ลักษณะองค์กร
-                    ความท้าทายต่อองค์กร
2.               เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ประกอบด้วยเกณฑ์ 7 หมวด คือ
-                     หมวด 1 การนำองค์กร
-                     หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

-                     หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
-                     หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
-                     หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
-                     หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
                เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  เพื่อพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้  มุ่งหวังเป็นเลิศและได้รับมาตรฐานสากล
ข้อดีของเครื่องมือ
-                     ส่วนราชการได้ดำเนินการตรวจประเมิน องค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
-                     ส่วนราชการสามารถนำเกณฑ์ PMQA ไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการการดำเนินการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการของส่วนราชการให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น ทั้งผลผลิตและบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     เมื่อส่วนราชการมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อเสียของเครื่องมือ
                บุคลากรเกิดการต่อต้านและไม่ยอมรับแนวคิด  หลักการ  ไม่เชื่อมั่นว่าทำ PMQA  แล้วองค์กรจะดีขึ้น
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
ส่วนราชการจะดำเนินการตามวงจรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำเกณฑ์คุณภาพ
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไปใช้ในการประเมินตนเอง ทำให้ทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง
และดำเนินการปรับปรุงด้วยแนวทางและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม และเมื่อส่วนราชการปรับปรุง
ตนเองอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่งจนมั่นใจได้ว่าพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ให้ก้าวไปสู่ระบบการบริหารจัดการ
ที่เหมาะ สมแล้ว สามารถสมัครขอรับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐได้  ในการสมัครขอรับรางวัลนั้น ส่วนราชการจะได้รับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินรางวัล ซึ่งเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็จะได้รับรางวัลตามหลักฐานที่กำหนด หากไม่ได้รับรางวัล ส่วนราชการจะได้รับรายงานป้อนกลับ (Feed back) เพื่อนำไปปรับปรุงองค์กรต่อไป สำหรับส่วนราชการที่ได้รับรางวัลจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาระบบราชการโดยรวมต่อไป
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                ส่วนราชการทุกสำนัก / หน่วยงานจะต้องจัดทำ PMQA  ตามแผนการพัฒนาระบบราชการไทย

13 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : TQM


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : TQM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง   สำหรับการนำแนวคิดการบริหารงานโดยใช้ TQM  มาใช้ในการบริหารงานอย่างจริงจังนั้น  ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก   ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม
                ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
TQM หรือ การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
วัตถุประสงค์ของ TQM คือ การสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า นอกจากนั้นยังสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการจัดการอื่นๆ เช่น การลดต้นทุน การลดเวลาการส่งมอบ เป็นต้น ทั้งนี้ทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนโดยตระหนักถึงวัตถุประสงค์ที่กล่าว
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
-                   ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-                   พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
-                   แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
-                   ลดปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนจากลูกค้าและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ทำได้ยาก หลาย ๆ บริษัทชั้นนำของโลกใช้เวลาไม่ต่ำกว่าห้าปี
-                    ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและตั้งใจ เนื่องจากการทำ TQM ไม่ได้เห็นผลทันที
-                   หากรรมการที่เป็นที่ยอมรับได้ยาก
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำ TQM ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและ กำหนดวิธีในการดำเนินการให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ต่าง ๆ ได้ 3 ขั้นตอน
                ขั้นตอนที่ 1          ขั้นเตรียมการ  ( Preparation )
                ขั้นตอนที่ 2           ขั้นดำเนินการ  ( Implementation )
                ขั้นตอนที่ 3           ขั้นสรุปผล  ( Conclusion )
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม จำกัด เพื่อเป็นโรงงานรับจ้างฟอกย้อม เส้นด้าย และ ผ้าถัก COTTON, TC, CVC, Polyester เป็นต้น มีการนำ TQM มาใช้ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้
-                   ผู้บริหารเกิดความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยมีแนวคิดที่ชัดเจน
-                   มีการประเมินผลสัมฤทธิ์จากกระบวนการทำงานอย่างจริงจัง
-                   มีการทำวงจร PDCA เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในหลาย ๆ หน่วยงานด้วยความสมัครใจ
-                   มีการเก็บตัวเลขด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้ตัวเลขจริงทางสถิติ เพื่อวินิจฉัย ลดการใช้ความรู้สึกในการตัดสินปัญหา
-                   พนักงานที่ได้ปฏิบัติตามแนวคิด TQM และทำเป็นกิจวัตรตาม DM มีความรู้และศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

12 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Six Sigma (6s)


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Six Sigma (6s)
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ในทศวรรษที่ 1980 และ1990 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆได้นำกลยุทธ์ 6 ซิกม่ามาใช้ในการปรับปรุงผลการผลิตเพื่อในการแข่งขันกับคู่แข่งของตนจนทำให้บริษัทนั้นๆต่างมีผลกำไรอย่างมากมายและเป็นที่ ภาคภูมิใจกับบริษัทของตน เช่น บริษัทโมโตโรล่า (Motorola (1987), บริษัทเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส ( Texas Instruments (1988), บริษัทจีอี ( GE (1995), โทรศัพท์มือถือโนเกีย ( Nokia Mobile(Phone) ระหว่างปีค.ศ.1996-1997) เป็นต้น
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Six Sigma (6s) คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติและมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma
กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า DMAIC
1.               D : Define
2.               M : Measure
3.               A : Analyze
4.               I : Improve
5.               C: Control

 Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”
¢ ± 1σ   มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  68.27 %
¢ ± 2σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  95.45 %
¢ ± 3σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.73 %
¢ ± 4σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9937 %
¢ ± 5σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.999943 %
¢ ± 6σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9999996 %


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    การลดข้อบกพร่อง (Defect Reduction)
-                    การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement)


-                    เพิ่มความพอใจของลูกค้า (Improved Customer Satisfaction)
-                    เพิ่มรายได้สุทธิ (Higher Net Income)
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ลดจำนวนของเสีย ทำมีกระบวนการทำงานที่มีเสถียรภาพและทำให้ต้นทุนต่ำลง
-                    กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีรูปแบบและมาตรฐาน
-                    การทำงานง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-                    เป็นการทำงานโครงการ ที่สามารถวัดผลสำเร็จได้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)




1.               กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2.               การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3.               การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4.               การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5.               การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)


มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายรายได้นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในองค์กรเช่น บริษัท General Electric (GE) จำกัด เป็นต้น ที่นำวิธีการนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1996 โดยได้ผลดังนี้
-                    CEO มีการปลูกฝังทัศนคติและมุมมองเรื่องของ “Six Sigma” เสมือน “ดี เอ็น เอ ที่อยู่ในสายเลือด” ของทุกคนในองค์กร


-                    การมองศูนย์กลางที่ตัวลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centric)
-                    ต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Everybody Play)
-                    การตั้งเป้าหมายอย่างท้าทาย (Straight Target) บนความเชื่อที่ว่า “ทำได้มากกว่า
-                   กำหนดทิศทางโดยผู้รับผิดชอบ ใน GE ไม่มีระบบอาวุโส

11 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : 5’S


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : 5’S
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การเกิดขึ้นของ 5ส.ในญี่ปุ่น ไม่ได้เกิดเป็น 5ส.ในรูปแบบที่ชัดเจน แต่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) กล่าวคือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังฝ่ายสัมพันธ์มิตร โดยการนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้มีการรักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นเพราะขณะนั้น
สำหรับประเทศไทยนั้น บริษัทเอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทแห่งแรกที่นำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2522 โดยตอนนั้นเรียกกันว่า 5ส. ในครั้งแรกนั้น Mr.Shigemi Mmorita ประธานกรรมการบริษัทได้นำมาใช้เฉพาะ 3 ส แรก เพื่อเป็นพื้นฐานในการบริหารบริษัท
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
5ส คือ เทคนิคหรือวิธีการจัดหรือปรับปรุงสถานที่ทำงาน หรือสภาพการทำงานให้เกิดความสะดวก ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน  เพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของงานสูงขึ้น
5ส. เป็นการนำ อักษรตัวหน้าของคำภาษาอังกฤษที่เขียนตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาใช้เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายจึงกลายมาเป็น คำว่า 5ส. ตามลำดับดังนี้
S1 : SEIRI : สะสาง : ส1 (Clearing Up)
S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
S5 : SHITSUKE : สร้างนิสัย : ส5 Training & Discipline)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                   พัฒนาความคิดของบุคลากรในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
-                   เสริมสร้างการทำงานที่ดี ความมีระเบียบวินัย รักความสะอาดให้กับบุคลากรทุกคน
-                   5 ส.เป็นรากแก้วและเป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพและผลผลิต
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ลดอุบัติเหตุในการทำงาน
-                   ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกินความจำเป็นและลดการสูญหายของวัสดุ
-                   พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นจากการขจัดวัสดุที่เกินความจำเป็นออกไป
-                   เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
-                   สถานที่ทำงานสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า
ข้อเสียของเครื่องมือ
                ถ้าสื่อสารภายในองค์กรไม่ดีอาจทำให้เกิดการต่อต้านในระยะแรก
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)


มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ในช่วงแรกๆ ดูเหมือนหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจดำเนินกิจกรรม 5ส. กันมาก แต่อาจมีไม่มากนักที่สามารถดำเนินกิจกรรม 5ส. ได้อย่างถูกต้อง
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้นำหลัก 5ส. ไปใช้อย่างจริงจังและได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผลกจากการทำ 5ส. ปตท.มีพื้นที่ปฏิบัติงานที่สะอาดสะอ้านไม่แออัด  พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีความสุข มีหน่วยงานจำนวนไม่น้อยรวมถึงลูกค้าของ ปตท. ขอเข้าเยี่ยมชมพื้นที่ทั้งในสำนักงานใหญ่ และต่างจังหวัด ทำให้พนักงานมีความภาคภูมิใจอย่างมาก หลายหน่วยงานได้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ของ  ปตท.เนื่องจากมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและการริเริ่มนำ 5ส ไปใช้ก่อน ทำให้การดำเนินการเรื่อง  QC ,TPM, SAFETY หรือ  ISO 9000  ทำได้โดยง่ายเพราะการทำ 5ส ช่วยฝึกการมีวินัย ฝึกการทำงานเป็นทีม  ฝึกให้พนักงานรับวิธีการใหม่ๆ จึงกล่าวได้ว่า 5ส  เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงงานด้านอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี  

10 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : E- learning


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : E- learning
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan'1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง
คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
E-learning ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
• การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
• การนำเสนอในลักษณะ E-learning
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
คำว่า E-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะ ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Damand) เป็นต้น
ประเภทของ e-Learning
e-Learning   แบ่งประเภทได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.               Synotronous   ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน  เป็นเวลาเรียนแบบเรียลไทม์   เน้นผู้สอนเป็น
2.               Asynchronous   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกัน   ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเน้นการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไปยังโฮมเพจเพื่อเรียน    ทำแบบฝึกหัดและสอบ    มีห้องให้สนทนากับเพื่อนร่วมชั้น  มีเว็บบอร์ด และอีเมล์ให้ถามคำถาม
องค์ประกอบของ e-Learning


 ลักษณะสำคัญของ e-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.               Anywhere, Anytime
2.               Multimedia
3.               Non-linear
4.               Immediate Response
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  e-learning เข้ามามีบทบาทในด้านธุรกิจและการศึกษา โดย   e-learning เกิดจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผนวกเข้ากับเนื้อหาวิชาในแต่ละสาขา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ได้เข้าไปศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
-                    ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
-                     ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
-                     ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
-                     ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
-                    ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองไ ด้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
สำหรับ e-Learning สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
-                    ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low Cost Interactive Online Course)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ตัวอย่างเวบไซต์ E-Learning
• http://www.chulaonline.com
สอนบทเรียนออนไลน์ ครบทั้งภาพและเสียง ผ่านระบบมัลติมีเดีย โดยมีบทเรียนหลากหลายให้เลือก เช่น หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษา, หลักสูตรคอมพิวเตอร์, หลักสูตรเรียนรู้เพื่อการประกอบธุรกิจ ฯลฯ
• http://www.ram.edu/ศูนย์ e-Learning Center มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีหลักสูตรมากมาย รวมทั้งข่าวสารในแวดวง e-Learning ที่น่าสนใจ มีกระดานข่าวให้แลกเปลี่ยนความรู้

09 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Learning Organization


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Learning Organization
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ ของซิงเก้ (Senge)  ศาสตราจารย์ ดร. ปีเตอร์ ชิงเก้ ( Prof. Dr. Peter  M. Senge. 1990) ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงหลักการขององค์การแห่งการเรียนรู้ว่าประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ 5 หลักการดังนี้ คือ 1) ความรอบรู้แห่งตน (personal  mastery) หรือการใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) แบบจำลองความคิด (mental  models) 3)การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) 4) การเรียนรู้เป็นทีม (team  learning) 5)การคิดเชิงระบบ (systems thinking)
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่สามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้เพื่อ เพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินงานขององค์ไปสู่เป้าหมาย
ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
1.             การใฝ่ใจพัฒนาตน (Personal Mastery)
2.             โมเดลความคิด (Mental Models)
3.             จินตทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4.             การสร้างภูมิรู้ทีม (Team Learning)
5.             การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมทางการบริหารอีกอย่างหนึ่ง ที่เน้นการพัฒนา สภาวะผู้นำในองค์การ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรซึ่งเป็นผลให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์ และทักษะระหว่างสมาชิกขององค์การ เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับของการพัฒนาการขององค์การเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การนั้น ๆ
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working)
-                   สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง
-                   มีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation)
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   Model ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัด
-                   กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง ขอบเขต ของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก
-                   ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำในเชิง Capability Perspective ในมุมมองของ DI bella&Schein ที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบ หากไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

(ที่มา : Olivier Serrat, Building a Learning Organization )
ระดับที่ 2 คือ Espaused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท
 ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining Assumtion เป็นความเชื่อ การรับ ความคิดและความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การและเป็นระดับที่ยากที่สุดในการ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดให้มี Online Learning Center ให้พนักงานเข้าถึงและค้นข้อมูลได้ง่ายและฝึกฝนให้ไม่กลัวเทคโนโลยี รับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง ทำให้การฝึกอบรมจะลดบทบาทลงไปส่วนหนึ่ง

08 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation Governance


Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation  Governance
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
-                    ปี 1989 มีการวิจัยและใช้คำว่า Governance โดยกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศ
-                    ต่อมาเสนอแนวคิด Good Governance ในภาครัฐ และ ประยุกต์หลักการมาใช้กับภาคธุรกิจเอกชนเรียก Good Corporate Governance
-                    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน 2540 กระตุ้นความสนใจในการกำกับดูแลที่ดีเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ในวงการธุรกิจ  ได้บัญญัติศัพท์  Corporate Governance  โดยแปลว่า บรรษัทภิบาล หรือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี


บรรษัทภิบาล  คือ โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกลุ่มหลักขององค์การซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ เพื่อให้เกิดสมรรถนะการแข่งขันขององค์การอันนำไปสู่เป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้  โดยการบริหารและการกำหนดทิศทางขององค์การจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วมด้วย  สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและได้ดุลยภาพของการจัดการที่ดีตามหลัก CG และ ITG
แผนภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดีบางมุมมองอาจขึ้นรูปและสร้างความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนก้าวไปสู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร แสดงได้ดังนี้


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    การพัฒนาประเทศที่ขาดสมดุล ไม่เป็นธรรม และปัญหาวิกฤตต่างๆ
-                    จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพที่ต่ำนำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพและความเสื่อมขององค์กร
-                    ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลส่งผลให้การทำงานผิดพลาดและทุจริตคอร์รัปชัน
-                    การสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นอาจส่งผลเสียหายในระยะยาว
-                    การจัดระบบการให้รางวัลและค่าตอบแทนที่เกินความพอดีและไม่โปร่งใส
-                    มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง ภาครัฐและภาคประชาสังคม หรือผู้ถือหุ้น (เจ้าของกิจการ) และกลุ่มผู้บริหาร

ข้อดีของเครื่องมือ
-                     เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectveness)
-                    การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)
-                    เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
-                    การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น(Shareholder Values)
-                    การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Confidence)

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล/การกำกับดูแลกิจการที่ดี
1.               ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
2.               ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
3.               ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
4.               การกระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
5.               การกำกับ – ควบคุม ที่ถูกต้อง (Right Monitoring)
6.               การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
กรณีบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )
เพื่อให้บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )  มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการจัดการที่ดี  เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานและการดำเนินงานให้เป็นที่ยอมรับ สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่   ผู้ถือหุ้น   ผู้ลงทุน  ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย   และสอดคล้องกับหลักการกับดูแลกิจการที่ดี ( Good Corporate Governance)  ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย