วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

14 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : PMQA


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : PMQA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นแนวทางที่จะพัฒนา องค์กรให้มีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า High Performance Organization การมีประสิทธิภาพนี้บ่งบอกถึงองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ  ซึ่งประเทศไทยโดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจาก MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย และกำหนดเป็น “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PMQA คือการนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์การที่เป็นเลิศ ซึ่งได้ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลโลกมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  PMQA ก็คือ การนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์กรที่เป็นเลิศ ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากลระดับโลก มาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีแรงจูงใจในรูปของรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
1.               ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายภาพรวมของส่วนราชการ สภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติภารกิจความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติราชการ ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ และระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการบริหารจัดการการดำเนินการขององค์กรโดยรวม ลักษณะสำคัญขององค์กร ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
-                    ลักษณะองค์กร
-                    ความท้าทายต่อองค์กร
2.               เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ประกอบด้วยเกณฑ์ 7 หมวด คือ
-                     หมวด 1 การนำองค์กร
-                     หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

-                     หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
-                     หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
-                     หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
-                     หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
                เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  เพื่อพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้  มุ่งหวังเป็นเลิศและได้รับมาตรฐานสากล
ข้อดีของเครื่องมือ
-                     ส่วนราชการได้ดำเนินการตรวจประเมิน องค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
-                     ส่วนราชการสามารถนำเกณฑ์ PMQA ไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการการดำเนินการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการของส่วนราชการให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น ทั้งผลผลิตและบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     เมื่อส่วนราชการมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อเสียของเครื่องมือ
                บุคลากรเกิดการต่อต้านและไม่ยอมรับแนวคิด  หลักการ  ไม่เชื่อมั่นว่าทำ PMQA  แล้วองค์กรจะดีขึ้น
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
ส่วนราชการจะดำเนินการตามวงจรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำเกณฑ์คุณภาพ
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไปใช้ในการประเมินตนเอง ทำให้ทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง
และดำเนินการปรับปรุงด้วยแนวทางและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม และเมื่อส่วนราชการปรับปรุง
ตนเองอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่งจนมั่นใจได้ว่าพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ให้ก้าวไปสู่ระบบการบริหารจัดการ
ที่เหมาะ สมแล้ว สามารถสมัครขอรับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐได้  ในการสมัครขอรับรางวัลนั้น ส่วนราชการจะได้รับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินรางวัล ซึ่งเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็จะได้รับรางวัลตามหลักฐานที่กำหนด หากไม่ได้รับรางวัล ส่วนราชการจะได้รับรายงานป้อนกลับ (Feed back) เพื่อนำไปปรับปรุงองค์กรต่อไป สำหรับส่วนราชการที่ได้รับรางวัลจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาระบบราชการโดยรวมต่อไป
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                ส่วนราชการทุกสำนัก / หน่วยงานจะต้องจัดทำ PMQA  ตามแผนการพัฒนาระบบราชการไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น