วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

04 Framework Management Tool Box ด้าน Controlling : KPI, CSF


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Controlling : KPI, CSF
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
                Key Performance Indicators : KPI เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์กรและพัฒนาการบริหารที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  ซึ่งใช้ทุกขั้นตอนการบริหารตั้งแต่ขั้นวางแผนจนกระทั่งประเมินผล  การบริหารที่ดีจะต้องมีการประเมินผลเป็นระยะๆ การประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor: CSF) คือ ปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่ต้องทำให้มีหรือให้เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ หรือก็คือเป็นการให้หลักการ แนวทาง หรือวิธีการที่องค์กรจะสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ได้ แต่ละองค์กรจะมีปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นหลักหมาย ที่เป็นรูปธรรมในการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานทุกระดับ ให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้บริหารขององค์กรรู้ว่าต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรตอบสนองวิสัยทัศน์
Key Performance Indicators : KPI คือตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน หรือ ตัวบ่งชี้สมรรถนะหลัก หรือบางแห่งก็เรียกว่าตัวชี้วัดผลงานหลัก เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยประเมินผลความสำเร็จขององค์กรได้ชัดเจนมากขึ้น ธุรกิจหลายแห่งมีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานตั้งแต่ระดับองค์กร และแตกลงมาสู่ระดับฝ่าย แผนก ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ มักจะเป็นเครื่องมือในการบอกว่าหน่วยงานนั้นๆ ทำงานได้ตามเป้าหมายหรือได้ตามมาตรฐานตัวชี้วัดผลงานที่กำหนดหรือไม่
องค์ประกอบของ Critical Success Factor : CSF
องค์ประกอบภายนอก
-                    เพื่อให้การบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลัก Good Governance จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
-                    ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบภายในและประเมินระบบควบคุมภายในของหน่วยงานต่าง ๆ
องค์ประกอบภายใน
-                    มีแผนการตรวจและมีแนวทางการตรวจที่ชัดเจน ช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบฯ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-                    ความเชี่ยวชาญของบุคลากรงานในหน้าที่ มีความรู้ในงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี
-                    การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา
องค์ประกอบด้านการเงิน
-                    การมีระบบควบคุมภายในที่ดี
-                    การมีระบบบริหารจัดการงบประมาณที่ดี

องค์ประกอบของ Key Performance Indicator : KPI
-                    วัตถุประสงค์ (Objective) หรือผลสัมฤทธิ์ (Result)
-                    ตัวชี้วัด (Indicators)
-                    เป้าหมายหรือมาตรฐาน (Target or Standard)
-                    เกณฑ์การวัด (Criteria)
เครื่องมือ Critical Success Factor : CSF นี้ใช้เพื่ออะไร
-                    บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ขององค์กร
-                    มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการยึดโยงการปฏิบัติงานทุกระดับ และมุ่งไปในทิศทางเดียว
-                    ทำหน้าที่ชี้หรือเป็นหลักหมายสำคัญต่อบรรลุวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ขององค์กร
เครื่องมือ Key Performance Indicator : KPI    นี้ใช้เพื่ออะไร



ข้อดีของเครื่องมือ Critical Success Factor : CSF
เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมและให้ความสนใจต่อการกำหนด CSF
ข้อดีของ Key Performance Indicator : KPI
-                    มีความว่องไวในการตอบสนอง การเปลี่ยนแปลง ติดตาม และแสดงผล
-                    สามารถนำไปเพื่อการเปรียบเทียบ และประเมินได้
-                    มีความชัดเจน และเข้าใจได้ (ไม่กำกวม หรือคลุมเครือ)
-                    สามารถประสานและถ่ายทอด จุดมุ่งหมายขององค์กร ไปยังหน่วยงานและบุคลากรได้ในที่สุด
-                    สนับสนุนการประเมินอนาคตและรายงานผลในอดีต
-                    สามารถสะท้อนหรือเชื่อมโยงกับ ความคาดหวัง-ความต้องการของลูกค้า, คุณภาพ-การควบคุม และการยกระดับคุณภาพ, ความสามารถในการแข่งขันได้ และจุดมุ่งหมายหลักขององค์กร
-                    สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์/พันธกิจ/กลยุทธ์
-                     มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนทุกตัววัด

ข้อเสียของเครื่องมือ Critical Success Factor : CSF
ต้องการความร่วมมือ สูง เพราะปัจจัย หรือ หัวข้อต่าง ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่ง ผู้บริหารควรดูแลเอาใจใส่ และ ประเมินผลความก้าวหน้าขององค์กร
ข้อเสียของ Key Performance Indicator : KPI
-                 ในการสร้างดัชนีชี้วัดส่วนใหญ่เน้นที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการในการสร้างดัชนีชี้วัด
-                  ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวไม่อยู่บนพื้นฐานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้
-                ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลของดัชนีชี้วัดไม่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้สำหรับการชี้นำหรือบ่งบอกเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดขึ้นในอนาคตได้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
กรมชลประทาน  มีการนำปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor : CSF) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance Indicator : KPI) โดยการประเมินด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร,  ด้านองค์ประกอบภายในองค์กรและด้านการเงิน
 http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/oa/meeting_semminar/rbm.htm ที่มา หนังสือการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์  กรมชลประทาน โดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน มีนาคม 2546 http://www.rid.go.th/reform

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น