วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

08 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation Governance


Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation  Governance
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
-                    ปี 1989 มีการวิจัยและใช้คำว่า Governance โดยกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศ
-                    ต่อมาเสนอแนวคิด Good Governance ในภาครัฐ และ ประยุกต์หลักการมาใช้กับภาคธุรกิจเอกชนเรียก Good Corporate Governance
-                    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน 2540 กระตุ้นความสนใจในการกำกับดูแลที่ดีเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ในวงการธุรกิจ  ได้บัญญัติศัพท์  Corporate Governance  โดยแปลว่า บรรษัทภิบาล หรือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี


บรรษัทภิบาล  คือ โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกลุ่มหลักขององค์การซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ เพื่อให้เกิดสมรรถนะการแข่งขันขององค์การอันนำไปสู่เป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้  โดยการบริหารและการกำหนดทิศทางขององค์การจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วมด้วย  สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและได้ดุลยภาพของการจัดการที่ดีตามหลัก CG และ ITG
แผนภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดีบางมุมมองอาจขึ้นรูปและสร้างความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนก้าวไปสู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร แสดงได้ดังนี้


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    การพัฒนาประเทศที่ขาดสมดุล ไม่เป็นธรรม และปัญหาวิกฤตต่างๆ
-                    จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพที่ต่ำนำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพและความเสื่อมขององค์กร
-                    ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลส่งผลให้การทำงานผิดพลาดและทุจริตคอร์รัปชัน
-                    การสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นอาจส่งผลเสียหายในระยะยาว
-                    การจัดระบบการให้รางวัลและค่าตอบแทนที่เกินความพอดีและไม่โปร่งใส
-                    มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง ภาครัฐและภาคประชาสังคม หรือผู้ถือหุ้น (เจ้าของกิจการ) และกลุ่มผู้บริหาร

ข้อดีของเครื่องมือ
-                     เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectveness)
-                    การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)
-                    เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
-                    การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น(Shareholder Values)
-                    การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Confidence)

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล/การกำกับดูแลกิจการที่ดี
1.               ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
2.               ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
3.               ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
4.               การกระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
5.               การกำกับ – ควบคุม ที่ถูกต้อง (Right Monitoring)
6.               การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
กรณีบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )
เพื่อให้บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )  มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการจัดการที่ดี  เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานและการดำเนินงานให้เป็นที่ยอมรับ สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่   ผู้ถือหุ้น   ผู้ลงทุน  ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย   และสอดคล้องกับหลักการกับดูแลกิจการที่ดี ( Good Corporate Governance)  ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น