Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Value Based Management : VBM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การบริหารแบบเน้นมูลค่าหรือ VBM สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาในครั้งแรกจากอัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เขียนหนังสือ Principles of Economics ในปี ค.ศ. 1890 เรื่องกฎของอุปสงค์และอุปทาน (Law of Demand and Supply) อัลเฟรด มาร์แชล เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องมูลค่าเพิ่ม โดยกล่าวในหนังสือไว้ตอนหนึ่งว่า ว่า “ส่วนที่เรียกว่า กำไรของเจ้าของนั้น แท้จริงแล้วคือส่วนที่เหลือ เมื่อนำรายได้ไปหักต้นทุนของเงินทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ณ อัตราปัจจุบันแล้ว เงินรายได้ส่วนที่คงเหลือนี้จึงจะเรียกได้ว่า เป็นกำไรจากการบริหารโดยแท้จริง”
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การบริหารเชิงมูลค่า (Value Based Management : VBM) คือการบริหารที่เน้นมูลค่า เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว เน้นการบริหารเงินทุนของนักลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น ผู้บริหารจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่าที่สุดในการลงทุน และสร้างผลตอบแทนให้มากกว่าค่าเสียโอกาส จึงจะถือว่า คุ้มค่าต่อเงินลงทุน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
องค์ประกอบต่าง ๆ ภายนอกกรอบสามเหลี่ยมที่การบริหารจัดการแบบเพิ่มมูลค่าจะต้องคำนึงถึง ในขณะที่ภายในกรอบสามเหลี่ยมซึ่งมี 3 ระดับ เวลาพิจารณาการบริหารแบบเพิ่มมูลค่าต้องจับมาเป็นแก่นทั้ง 3 ระดับ ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกกรอบสามเหลี่ยม
ที่มา : 2002-2003 J.M.M. de Jonge Management Advies
ข้อดีของเครื่องมือ
- Colaboration ทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
- Compensation การตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติงานตามผลงานเหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
- Cost ทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงและมีกำไรมากขึ้น
- Capital ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ข้อเสียของเครื่องมือ
- ใช้ระยะเวลาในการจัดทำนาน
- พนักงานเกิดแรงต้าน เนื่องจากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การปรับอัตราค่าจ้าง, การจ่ายโบนัสจะอิงจากผลงาน
- เกณฑ์ในการชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน หากไม่ได้สัดส่วนเท่ากันทุกฝ่ายก็จะเกิดการเลื่อมล้ำในการวัดผล
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำ VBM มาใช้ในองค์กร คือ การช่วยปรับวิธีปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานในองค์กรให้สอดคล้องกันและเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นและองค์กรเป็นหลัก
ฝ่ายบริหารจะใช้กลยุทธ์นี้เพื่อการวางแผนและปรับกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Competitive Advantage) อันจะเป็นการผลักดันให้องค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) มีการนำ VBM มาใช้ 5 Element (Strategic Planning, Resource Allocation, Performance Measurement and Evaluation, Incentive Compensation, Investor Communication) ใช้เวลา 5 ปี หลาย ๆ อย่างภายในองค์กรก็เริ่มฟื้นฟูในทางที่ดีขึ้น โดยสะท้อนจากรายได้จากการขาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น