หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แต่เดิมนั้นการประเมินราคาผลิตภัณฑ์นั้น จะใช้มูลค่าของแรงงานโดยตรง (direct labor) และวัสดุโดยตรง (direct material) เป็นฐาน และคิด ค่าโสหุ้ย(overhead costs) ในลักษณะอัตราส่วนเทียบกับค่าใช้จ่ายทางตรง (มูลค่าแรงงานและวัสดุโดยตรง)
ต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity based costing : ABC) มีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริหารหันมาให้ความสนใจกับการบริหารกิจกรรมและต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงมีการบริหารโดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ และถือว่ากิจกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน ส่วนผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กิจกรรมต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง กิจกรรม คือ การกระทำที่เปลี่ยนทรัพยากรของกิจการออกมาเป็นผลผลิตได้ ดังนั้น การบัญชีต้นทุนกิจกรรมนอกจากเน้นการระบุกิจกรรมของกิจการแล้ว ยังพยายามระบุต้นทุนของกิจกรรม เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. ฝ่ายบริหารมีกระบวนการสร้างข้อมูลทางด้านต้นทุนของกระบวนการและบริการที่แม่นยำกว่าระบบการบริหารต้นทุนแบบเดิม
2. ฝ่ายบริหารมีระบบการคำนวณต้นทุนบริการที่ชัดเจน
3. ฝ่ายบริหารสามารถเข้าใจการปฏิบัติงานโดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ข้อดีของเครื่องมือ
1. การคำนวณการจัดสรรต้นทุนการผลิตจะมีความเที่ยงตรงมากขึ้น
2. ระบบต้นทุนตามกิจกรรมจะส่งผลให้ผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบในต้นทุนการผลิตภายในแผนก
3. ระบบต้นทุนตามกิจกรรมจะช่วยให้ข้อมูลทางการบัญชีมีความถูกต้องและยุติธรรมมากขึ้นอันจะส่งผลให้ฝ่ายบริหารสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ช่วยในการวัดผลปฏิบัติงานของกิจการ
ข้อเสียของเครื่องมือ
1. การนำระบบต้นทุนตามกิจกรรมมาใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เนื่องจากต้องจัดทำแผนภูมิแสดงขบวนการผลิตแบ่งแยกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ
2. ระบบต้นทุนตามกิจกรรมต้องหาเอกสารหรือจดรายงานความสัมพันธ์ของตัวผลักดันต้นทุนกับกิจกรรมทุนกิจกรรมซึ่งจะส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา
ขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบต้นทุนตามกิจกรรม
1. การวิเคราะห์และระบุกิจกรรม
2. การคำนวณต้นทุนกิจกรรม
3. การวิเคราะห์และระบุตัวผลักดันต้นทุนกิจกรรม (Cost Driver)
4. การคำนวณต้นทุน
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
โชติกา ทองสุโชติ (2552) ศึกษาการจัดการควบคุมสินค้าคงคลัง โดยวิธี ABC Analysis ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท เอ.ซี.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด พบว่าในการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ABC สามารถแบ่งวัตถุดิบประเภท A ได้ 13 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า คิดเป็น 75.07% เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนสินค้ารวมของการบริหารแบบปัจจุบันกับต้นทุนรวมของการสั่งซื้อในปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด พบว่า การบริหารการสั่งซื้อในปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดทำให้ ปริมาณสินค้าคงคลังลดลง 2,340 หน่วย จำนวนครั้งในการสั่งซื้อลดลง 76 ครั้ง และต้นทุนรวมสินค้าคงคลังลดลง 1,140,889.16 บาท หรือลดลง 30.27% และการเปลี่ยนตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าแบบ ABC พบว่าตำแหน่งใหม่สามารถลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้าจาก Rack มายัง Store ลงไปได้เป็นระยะทาง 3.20 เมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น