วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558
12 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : PDCA
Framework Management Tool Box ด้าน Leading : PDCA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับวงจร PDCA เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักสถิติ Walter Shewhart ซึ่งได้พัฒนาจากการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติที่ Bell Laboratories ในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1930 ในระยะเริ่มแรก วงจรดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วงจร Shewhart" จนกระทั่งราวทศวรรษที่ 1950 ได้มีการเผยแพร่อย่าง กว้างขวางโดย W.Edwards Deming ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารคุณภาพ หลายคนจึงเรียกวงจรนี้ว่า " วงจร Deming " และคนทั่วไปนิยมเรียกว่า PDCA Cycle
PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้น คือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม PDCA อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยตลอด
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
PDCA คือวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
- P = Plan คือการวางแผนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่เราได้กำหนดขึ้น
- D = Do คือการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
- C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง
- A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
เมื่อได้แผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ(C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปเรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
PDCA เป็นวงจรของการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุกวงการ ทุกองค์กร ทุกระดับและทุกคน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านคุณภาพของงาน หรือผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของเครื่องมือ
1. ค่าใช้จ่ายลดลง เพราะความผิดพลาดลดลง ลดความล่าช้า ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไข และของเสียลดลง
2. ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพราะใช้ปัจจัยนาเข้าน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้นกว่าเดิม
3. ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น เพราะคุณภาพสูงขึ้น
4. ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ปรารถนา
5. ทำให้เกิดความแจ่มใสชัดในการดำเนินงาน ไม่มีองค์การใดที่ประสบความสำเร็จได้ โดยปราศจาก
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
การนำ PDCA ไปใช้ของมหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยพายัพดำเนินการควบคุมคุณภาพภายของการดำเนินงานในส่วนของปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการผลิต (Process) ผลผลิต (Output) และผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน (Outcome) โดยกำหนดตัวบ่งชี้ภายใต้ IPOO ครอบคลุมกับองค์ประกอบคุณภาพของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกของสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพภายใน ประเมินคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นกระบวนการในวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Quality Cycle of Deming’s Theory: PDCA)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น