วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

03 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Brainstorming

03 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Brainstorming
Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Brainstorming
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
นักวิชาการที่เป็นผู้ให้กำเนิดของเทคนิคนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่      โดยมิซูโน่  (Mizuno)  ไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้ต้นคิดแต่ระบุว่าได้มีการใช้เทคนิคระดมสมองในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีค.ศ. 1952  ในขณะที่  ฟอร์ซิท  (Donelson  Forsyth)  กลับระบุชัดเจนว่าเทคนิคการระดมสมองเกิดจากแนวคิดของ  ออสบอร์น  (Alex  F.  Osborne)ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งตั้งแต่ปีค.ศ.  1957
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การระดมสมอง มาจากคำในภาษาอังกฤษ  คือ  Brain  Storming  โดยที่คำแรก  คือ Brain  หมายถึงสมอง  ส่วนหลัง  Storming  หมายถึงพายุที่โหมกระหน่ำ  หากจะแปลตรง  ๆ  ก็คงหมายถึงการมุ่งใช้พลังความสามารถทางการคิดของสมองของมวลสมาชิกในกลุ่ม  เพื่อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  คนที่ไม่ชอบคิด  หรือคนที่ชอบคิดเงียบ  ๆ  ไม่ชอบแสดงให้คนอื่นรู้ว่าตนเองคิดอาจไม่เหมาะที่จะร่วมกลุ่มเพื่อระดมสมอง
การระดมสมอง  ถือเป็นเทคนิคที่ใช้กับกลุ่ม  (Group  Technique)  ไม่ใช่ใช้กับคนเพียงคนเดียว ในทางการบริหารมักใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและใช้ในการการวางแผน  Brain  Storming   เป็นคำที่คนไทยค่อนข้างคุ้นเคยและเป็นที่รู้จักกันมากในทุกวงการ  มีผู้บัญญัติเป็นภาษาไทยไว้  ที่พบมากมี  2  คำ  คือ  การระดมสมอง กับ การระดมความคิดปัจจุบันพบว่ามีการพยายามใช้คำว่า  การระดมความรู้และประสบการณ์
โดยทั่วไปแล้ว  การระดมสมองหมายถึงการแสวงหาความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด   ดังนั้นการให้คิดโดยไม่กำหนดเวลาที่จำกัดแน่นอนก็ไม่เรียกว่าการระดมสมอง  การระดมสมองจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้กับกลุ่มที่ไม่รู้จักกัน  ไม่เกรงใจกันหรือสนิทสนมกันมากเกินไปและจำนวนสมาชิกที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง  4 ถึง  9  คน
จุดเน้นของการระดมสมอง
               ออสบอร์น (Alex F. Osborne)  ได้กำหนดจุดเน้นของการระดมสมองไว้  4    ประการ ได้แก่
1.             เน้นให้มีการแสดงความคิดออกมา  (Expressiveness)    
2.             เน้นการไม่ประเมินความคิดในขณะที่กำลังระดมสมอง  (Non – evaluative)
3.             เน้นปริมาณของความคิด  (Quautity)
4.             เน้นการสร้างความคิด  (Building)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                   การขยายขอบเขตของปัญหาที่เกิดขึ้น
-                   การหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลาย
-                   การคัดเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-                   การจัดทำแผนและรายละเอียดเพื่อดำเนินการ
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องคอยไตร่ตรอง ไม่มีข้อจำกัดหรือการกีดกันใด ๆ ทั้งสิ้น
-                   ได้รับความเห็นหลาย ๆ ด้าน ทำให้กลุ่มมีโอกาสในการพิจารณาเลือกหลายสิ่ง ไม่จำเพาะเจาะจงอยู่ในความคิดเดียวตลอดไป
-                   สร้างกลุ่มให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าของกลุ่ม
ข้อเสียของเครื่องมือ
                ในการระดมสมอง ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาทางวัฒนธรรมคือ  บุคคลที่พบว่าตนเป็น “ผู้น้อย” มักไม่มีความสุขที่จะแสดงความคิดอย่างเสรี  หากในที่ประชุมนั้นมี “ผู้ใหญ่”  ที่สามารถให้คุณให้โทษหรือเป็นที่เกรงใจนั่งอยู่ด้วย  ก็มีส่วนสกัดกั้นความกล้าคิดไม่น้อย
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               เตรียมการ
1.1       กำหนดประเด็น
1.2       กำหนดเวลาและวิธีการ
1.3       กำหนดผู้รับผิดชอบ
1.4       ทบทวนกฎกติกามารยาทในการระดมสมอง
1.5       เตรียมอุปกรณ์
2.              ระดมความคิด
2.1       สร้างความคิด
2.2       เสนอความคิดเห็น
3.              ทำความกระจ่าง
4.              ประเมิน
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ทีมการออกแบบของบริษัท Ideo บริษัทชั้นนำด้านการดีไซน์ ทำการระดมสมองเพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบอุปกรณ์การตัดผมแบบใหม่ วิศวกรทั้งหลายจึงต้องไปทำการบ้านหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่ออาจจะนำมาจุดประกายในการระดมสมองได้ เช่น ออกสำรวจเครื่องมือเกี่ยวกับการตัดทั้งหลายทุกประเภทในร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดหญ้า เครื่องตัดกระดาษ ฯลฯ เพื่ออาจจะนำมาสู่ความคิดนอกกรอบ ที่นำมาประยุกต์ใช้ขณะนำเสนอไอเดียในการระดมสมองได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น