วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

14 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : PMQA


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : PMQA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นแนวทางที่จะพัฒนา องค์กรให้มีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า High Performance Organization การมีประสิทธิภาพนี้บ่งบอกถึงองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ  ซึ่งประเทศไทยโดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจาก MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย และกำหนดเป็น “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PMQA คือการนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์การที่เป็นเลิศ ซึ่งได้ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลโลกมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  PMQA ก็คือ การนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์กรที่เป็นเลิศ ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากลระดับโลก มาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยมีแรงจูงใจในรูปของรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
1.               ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายภาพรวมของส่วนราชการ สภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติภารกิจความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติราชการ ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ และระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการบริหารจัดการการดำเนินการขององค์กรโดยรวม ลักษณะสำคัญขององค์กร ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
-                    ลักษณะองค์กร
-                    ความท้าทายต่อองค์กร
2.               เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ประกอบด้วยเกณฑ์ 7 หมวด คือ
-                     หมวด 1 การนำองค์กร
-                     หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

-                     หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
-                     หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
-                     หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
-                     หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
                เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  เพื่อพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้  มุ่งหวังเป็นเลิศและได้รับมาตรฐานสากล
ข้อดีของเครื่องมือ
-                     ส่วนราชการได้ดำเนินการตรวจประเมิน องค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
-                     ส่วนราชการสามารถนำเกณฑ์ PMQA ไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการการดำเนินการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการของส่วนราชการให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น ทั้งผลผลิตและบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-                     เมื่อส่วนราชการมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อเสียของเครื่องมือ
                บุคลากรเกิดการต่อต้านและไม่ยอมรับแนวคิด  หลักการ  ไม่เชื่อมั่นว่าทำ PMQA  แล้วองค์กรจะดีขึ้น
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
ส่วนราชการจะดำเนินการตามวงจรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำเกณฑ์คุณภาพ
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไปใช้ในการประเมินตนเอง ทำให้ทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง
และดำเนินการปรับปรุงด้วยแนวทางและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม และเมื่อส่วนราชการปรับปรุง
ตนเองอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่งจนมั่นใจได้ว่าพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ให้ก้าวไปสู่ระบบการบริหารจัดการ
ที่เหมาะ สมแล้ว สามารถสมัครขอรับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐได้  ในการสมัครขอรับรางวัลนั้น ส่วนราชการจะได้รับการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินรางวัล ซึ่งเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็จะได้รับรางวัลตามหลักฐานที่กำหนด หากไม่ได้รับรางวัล ส่วนราชการจะได้รับรายงานป้อนกลับ (Feed back) เพื่อนำไปปรับปรุงองค์กรต่อไป สำหรับส่วนราชการที่ได้รับรางวัลจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาระบบราชการโดยรวมต่อไป
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                ส่วนราชการทุกสำนัก / หน่วยงานจะต้องจัดทำ PMQA  ตามแผนการพัฒนาระบบราชการไทย

13 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : TQM


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : TQM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง   สำหรับการนำแนวคิดการบริหารงานโดยใช้ TQM  มาใช้ในการบริหารงานอย่างจริงจังนั้น  ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก   ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม
                ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
TQM หรือ การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
วัตถุประสงค์ของ TQM คือ การสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า นอกจากนั้นยังสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการจัดการอื่นๆ เช่น การลดต้นทุน การลดเวลาการส่งมอบ เป็นต้น ทั้งนี้ทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนโดยตระหนักถึงวัตถุประสงค์ที่กล่าว
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
-                   ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-                   พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
-                   แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
-                   ลดปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนจากลูกค้าและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ทำได้ยาก หลาย ๆ บริษัทชั้นนำของโลกใช้เวลาไม่ต่ำกว่าห้าปี
-                    ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและตั้งใจ เนื่องจากการทำ TQM ไม่ได้เห็นผลทันที
-                   หากรรมการที่เป็นที่ยอมรับได้ยาก
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำ TQM ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและ กำหนดวิธีในการดำเนินการให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ต่าง ๆ ได้ 3 ขั้นตอน
                ขั้นตอนที่ 1          ขั้นเตรียมการ  ( Preparation )
                ขั้นตอนที่ 2           ขั้นดำเนินการ  ( Implementation )
                ขั้นตอนที่ 3           ขั้นสรุปผล  ( Conclusion )
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม จำกัด เพื่อเป็นโรงงานรับจ้างฟอกย้อม เส้นด้าย และ ผ้าถัก COTTON, TC, CVC, Polyester เป็นต้น มีการนำ TQM มาใช้ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้
-                   ผู้บริหารเกิดความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยมีแนวคิดที่ชัดเจน
-                   มีการประเมินผลสัมฤทธิ์จากกระบวนการทำงานอย่างจริงจัง
-                   มีการทำวงจร PDCA เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในหลาย ๆ หน่วยงานด้วยความสมัครใจ
-                   มีการเก็บตัวเลขด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้ตัวเลขจริงทางสถิติ เพื่อวินิจฉัย ลดการใช้ความรู้สึกในการตัดสินปัญหา
-                   พนักงานที่ได้ปฏิบัติตามแนวคิด TQM และทำเป็นกิจวัตรตาม DM มีความรู้และศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

12 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Six Sigma (6s)


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Six Sigma (6s)
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ในทศวรรษที่ 1980 และ1990 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆได้นำกลยุทธ์ 6 ซิกม่ามาใช้ในการปรับปรุงผลการผลิตเพื่อในการแข่งขันกับคู่แข่งของตนจนทำให้บริษัทนั้นๆต่างมีผลกำไรอย่างมากมายและเป็นที่ ภาคภูมิใจกับบริษัทของตน เช่น บริษัทโมโตโรล่า (Motorola (1987), บริษัทเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส ( Texas Instruments (1988), บริษัทจีอี ( GE (1995), โทรศัพท์มือถือโนเกีย ( Nokia Mobile(Phone) ระหว่างปีค.ศ.1996-1997) เป็นต้น
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Six Sigma (6s) คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติและมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma
กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า DMAIC
1.               D : Define
2.               M : Measure
3.               A : Analyze
4.               I : Improve
5.               C: Control

 Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”
¢ ± 1σ   มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  68.27 %
¢ ± 2σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  95.45 %
¢ ± 3σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.73 %
¢ ± 4σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9937 %
¢ ± 5σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.999943 %
¢ ± 6σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9999996 %


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    การลดข้อบกพร่อง (Defect Reduction)
-                    การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement)


-                    เพิ่มความพอใจของลูกค้า (Improved Customer Satisfaction)
-                    เพิ่มรายได้สุทธิ (Higher Net Income)
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ลดจำนวนของเสีย ทำมีกระบวนการทำงานที่มีเสถียรภาพและทำให้ต้นทุนต่ำลง
-                    กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีรูปแบบและมาตรฐาน
-                    การทำงานง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-                    เป็นการทำงานโครงการ ที่สามารถวัดผลสำเร็จได้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)




1.               กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2.               การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3.               การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4.               การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5.               การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)


มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายรายได้นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในองค์กรเช่น บริษัท General Electric (GE) จำกัด เป็นต้น ที่นำวิธีการนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1996 โดยได้ผลดังนี้
-                    CEO มีการปลูกฝังทัศนคติและมุมมองเรื่องของ “Six Sigma” เสมือน “ดี เอ็น เอ ที่อยู่ในสายเลือด” ของทุกคนในองค์กร


-                    การมองศูนย์กลางที่ตัวลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centric)
-                    ต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Everybody Play)
-                    การตั้งเป้าหมายอย่างท้าทาย (Straight Target) บนความเชื่อที่ว่า “ทำได้มากกว่า
-                   กำหนดทิศทางโดยผู้รับผิดชอบ ใน GE ไม่มีระบบอาวุโส

11 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : 5’S


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : 5’S
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การเกิดขึ้นของ 5ส.ในญี่ปุ่น ไม่ได้เกิดเป็น 5ส.ในรูปแบบที่ชัดเจน แต่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) กล่าวคือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังฝ่ายสัมพันธ์มิตร โดยการนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้มีการรักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นเพราะขณะนั้น
สำหรับประเทศไทยนั้น บริษัทเอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทแห่งแรกที่นำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2522 โดยตอนนั้นเรียกกันว่า 5ส. ในครั้งแรกนั้น Mr.Shigemi Mmorita ประธานกรรมการบริษัทได้นำมาใช้เฉพาะ 3 ส แรก เพื่อเป็นพื้นฐานในการบริหารบริษัท
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
5ส คือ เทคนิคหรือวิธีการจัดหรือปรับปรุงสถานที่ทำงาน หรือสภาพการทำงานให้เกิดความสะดวก ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน  เพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของงานสูงขึ้น
5ส. เป็นการนำ อักษรตัวหน้าของคำภาษาอังกฤษที่เขียนตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาใช้เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายจึงกลายมาเป็น คำว่า 5ส. ตามลำดับดังนี้
S1 : SEIRI : สะสาง : ส1 (Clearing Up)
S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
S5 : SHITSUKE : สร้างนิสัย : ส5 Training & Discipline)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                   พัฒนาความคิดของบุคลากรในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
-                   เสริมสร้างการทำงานที่ดี ความมีระเบียบวินัย รักความสะอาดให้กับบุคลากรทุกคน
-                   5 ส.เป็นรากแก้วและเป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพและผลผลิต
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ลดอุบัติเหตุในการทำงาน
-                   ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกินความจำเป็นและลดการสูญหายของวัสดุ
-                   พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นจากการขจัดวัสดุที่เกินความจำเป็นออกไป
-                   เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
-                   สถานที่ทำงานสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า
ข้อเสียของเครื่องมือ
                ถ้าสื่อสารภายในองค์กรไม่ดีอาจทำให้เกิดการต่อต้านในระยะแรก
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)


มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ในช่วงแรกๆ ดูเหมือนหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจดำเนินกิจกรรม 5ส. กันมาก แต่อาจมีไม่มากนักที่สามารถดำเนินกิจกรรม 5ส. ได้อย่างถูกต้อง
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้นำหลัก 5ส. ไปใช้อย่างจริงจังและได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผลกจากการทำ 5ส. ปตท.มีพื้นที่ปฏิบัติงานที่สะอาดสะอ้านไม่แออัด  พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีความสุข มีหน่วยงานจำนวนไม่น้อยรวมถึงลูกค้าของ ปตท. ขอเข้าเยี่ยมชมพื้นที่ทั้งในสำนักงานใหญ่ และต่างจังหวัด ทำให้พนักงานมีความภาคภูมิใจอย่างมาก หลายหน่วยงานได้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ของ  ปตท.เนื่องจากมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและการริเริ่มนำ 5ส ไปใช้ก่อน ทำให้การดำเนินการเรื่อง  QC ,TPM, SAFETY หรือ  ISO 9000  ทำได้โดยง่ายเพราะการทำ 5ส ช่วยฝึกการมีวินัย ฝึกการทำงานเป็นทีม  ฝึกให้พนักงานรับวิธีการใหม่ๆ จึงกล่าวได้ว่า 5ส  เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงงานด้านอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี  

10 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : E- learning


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : E- learning
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan'1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง
คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
E-learning ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
• การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
• การนำเสนอในลักษณะ E-learning
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
คำว่า E-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะ ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Damand) เป็นต้น
ประเภทของ e-Learning
e-Learning   แบ่งประเภทได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.               Synotronous   ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน  เป็นเวลาเรียนแบบเรียลไทม์   เน้นผู้สอนเป็น
2.               Asynchronous   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกัน   ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเน้นการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไปยังโฮมเพจเพื่อเรียน    ทำแบบฝึกหัดและสอบ    มีห้องให้สนทนากับเพื่อนร่วมชั้น  มีเว็บบอร์ด และอีเมล์ให้ถามคำถาม
องค์ประกอบของ e-Learning


 ลักษณะสำคัญของ e-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.               Anywhere, Anytime
2.               Multimedia
3.               Non-linear
4.               Immediate Response
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  e-learning เข้ามามีบทบาทในด้านธุรกิจและการศึกษา โดย   e-learning เกิดจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผนวกเข้ากับเนื้อหาวิชาในแต่ละสาขา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ได้เข้าไปศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
-                    ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
-                     ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
-                     ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
-                     ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
-                    ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองไ ด้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
สำหรับ e-Learning สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
-                    ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low Cost Interactive Online Course)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ตัวอย่างเวบไซต์ E-Learning
• http://www.chulaonline.com
สอนบทเรียนออนไลน์ ครบทั้งภาพและเสียง ผ่านระบบมัลติมีเดีย โดยมีบทเรียนหลากหลายให้เลือก เช่น หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษา, หลักสูตรคอมพิวเตอร์, หลักสูตรเรียนรู้เพื่อการประกอบธุรกิจ ฯลฯ
• http://www.ram.edu/ศูนย์ e-Learning Center มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีหลักสูตรมากมาย รวมทั้งข่าวสารในแวดวง e-Learning ที่น่าสนใจ มีกระดานข่าวให้แลกเปลี่ยนความรู้

09 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Learning Organization


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Learning Organization
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ ของซิงเก้ (Senge)  ศาสตราจารย์ ดร. ปีเตอร์ ชิงเก้ ( Prof. Dr. Peter  M. Senge. 1990) ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงหลักการขององค์การแห่งการเรียนรู้ว่าประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ 5 หลักการดังนี้ คือ 1) ความรอบรู้แห่งตน (personal  mastery) หรือการใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) แบบจำลองความคิด (mental  models) 3)การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) 4) การเรียนรู้เป็นทีม (team  learning) 5)การคิดเชิงระบบ (systems thinking)
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่สามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้เพื่อ เพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินงานขององค์ไปสู่เป้าหมาย
ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
1.             การใฝ่ใจพัฒนาตน (Personal Mastery)
2.             โมเดลความคิด (Mental Models)
3.             จินตทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4.             การสร้างภูมิรู้ทีม (Team Learning)
5.             การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมทางการบริหารอีกอย่างหนึ่ง ที่เน้นการพัฒนา สภาวะผู้นำในองค์การ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรซึ่งเป็นผลให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์ และทักษะระหว่างสมาชิกขององค์การ เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับของการพัฒนาการขององค์การเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การนั้น ๆ
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working)
-                   สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง
-                   มีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation)
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   Model ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัด
-                   กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง ขอบเขต ของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก
-                   ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำในเชิง Capability Perspective ในมุมมองของ DI bella&Schein ที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบ หากไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

(ที่มา : Olivier Serrat, Building a Learning Organization )
ระดับที่ 2 คือ Espaused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท
 ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining Assumtion เป็นความเชื่อ การรับ ความคิดและความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การและเป็นระดับที่ยากที่สุดในการ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดให้มี Online Learning Center ให้พนักงานเข้าถึงและค้นข้อมูลได้ง่ายและฝึกฝนให้ไม่กลัวเทคโนโลยี รับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง ทำให้การฝึกอบรมจะลดบทบาทลงไปส่วนหนึ่ง

08 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation Governance


Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Corporation  Governance
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
-                    ปี 1989 มีการวิจัยและใช้คำว่า Governance โดยกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศ
-                    ต่อมาเสนอแนวคิด Good Governance ในภาครัฐ และ ประยุกต์หลักการมาใช้กับภาคธุรกิจเอกชนเรียก Good Corporate Governance
-                    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน 2540 กระตุ้นความสนใจในการกำกับดูแลที่ดีเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ในวงการธุรกิจ  ได้บัญญัติศัพท์  Corporate Governance  โดยแปลว่า บรรษัทภิบาล หรือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี


บรรษัทภิบาล  คือ โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกลุ่มหลักขององค์การซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ เพื่อให้เกิดสมรรถนะการแข่งขันขององค์การอันนำไปสู่เป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้  โดยการบริหารและการกำหนดทิศทางขององค์การจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วมด้วย  สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและได้ดุลยภาพของการจัดการที่ดีตามหลัก CG และ ITG
แผนภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดีบางมุมมองอาจขึ้นรูปและสร้างความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนก้าวไปสู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร แสดงได้ดังนี้


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    การพัฒนาประเทศที่ขาดสมดุล ไม่เป็นธรรม และปัญหาวิกฤตต่างๆ
-                    จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพที่ต่ำนำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพและความเสื่อมขององค์กร
-                    ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลส่งผลให้การทำงานผิดพลาดและทุจริตคอร์รัปชัน
-                    การสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นอาจส่งผลเสียหายในระยะยาว
-                    การจัดระบบการให้รางวัลและค่าตอบแทนที่เกินความพอดีและไม่โปร่งใส
-                    มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง ภาครัฐและภาคประชาสังคม หรือผู้ถือหุ้น (เจ้าของกิจการ) และกลุ่มผู้บริหาร

ข้อดีของเครื่องมือ
-                     เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectveness)
-                    การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)
-                    เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
-                    การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น(Shareholder Values)
-                    การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Confidence)

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล/การกำกับดูแลกิจการที่ดี
1.               ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
2.               ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
3.               ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
4.               การกระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
5.               การกำกับ – ควบคุม ที่ถูกต้อง (Right Monitoring)
6.               การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
กรณีบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )
เพื่อให้บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด ( มหาชน )  มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการจัดการที่ดี  เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานและการดำเนินงานให้เป็นที่ยอมรับ สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่   ผู้ถือหุ้น   ผู้ลงทุน  ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย   และสอดคล้องกับหลักการกับดูแลกิจการที่ดี ( Good Corporate Governance)  ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

07 Organizing : Corporate Social Responsibility (CSR)


Organizing : Corporate Social Responsibility (CSR)

หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา

 ปัจจุบันแนวคิดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดด้านการให้ต่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นก็คือสิ่งที่เรียกกว่า ‘การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate social responsibility)’ ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก
 “CSR เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การให้ ประโยชน์กับ คน ชุมชน และสังคม   นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ  โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ”
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
 CSR  เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัท หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
องค์ประกอบสำคัญหลากมิติของงาน CSR
1.               มิติภายในของกระบวนการดำเนินธุรกิจ (In process  CSR)
2.               การเลือก Supplier
3.               การดูแลผู้บริโภค
4.               บทบาทต่อชุมชนและสังคม
5.               การดูแลโลก
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

บบของ CSR
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    กลุ่มคนต่างๆในสังคมให้การยอมรับ
-                    องค์กรจะได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนแม้เกิดภาวะวิกฤต
-                    เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่องค์กร
-                    สร้างจุดแข็งทางการตลาดสร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงให้แก่องค์กร
-                    เพิ่มยอดขายและสัดส่วนทางการตลาดให้แก่องค์กร
-                    ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานขององค์กร
-                    สามารถดึงดูด รักษา พนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้นาน
-                    สื่อมวลชนให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าวสารด้าน CSR
-                    สร้างแรงดึงดูดใจให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และนักการเงิน
-                    องค์กรมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสำคัญๆของรัฐ
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    ทำ CSR แนวกว้าง หลายประเด็น ไม่ลงลึก ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
-                    ผู้บริหารไม่สนับสนุน มองเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจผลที่จะได้รับ
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               ควรเริ่มกิจกรรม CSR จากภายในสู่ภายนอก Inner CSR
2.               ควรปลูกฝังค่านิยมเรื่องของการช่วยเหลือ การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ให้แก่พนักงานในองค์กร
3.               สร้างทีมงาน CSR ประกอบด้วยบุคคลากรจากหลายฝ่ายช่วยกัน
4.               เขียนแผนงานด้าน CSR อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามประเมินผลได้
5.               วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสขององค์กร เพื่อหาประเด็นทำ CSR
6.               ควรสร้างประเด็น CSR ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ
7.               ประเด็น CSR มีเพียง 2-4 ประเด็น ไม่กระจัดกระจาย
8.               สร้างกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร
9.               ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกกรมนั้นมุ่ง target กลุ่มไหน
10.         กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ให้ชัดเจนและแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากพนักงาน
11.         ต้องเข้าใจแนวคิด CSR เข้าใจแก่น และเน้นทำ CSR แบบยั่งยืน
12.         ควรทำกิจกรรม CSR อย่างต่อเนื่อง
13.         ไม่ควรคิดทำ CSR เพียงเพื่อต่อยอด สร้างแบรนด์เท่านั้น
14.         ควรทำ CSR ในเชิงรุก (ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
                ได้มีการจัดทำการกันอย่างแพร่หลาย  ยกตัวอย่างเช่นบริษัท   ปตท. จำกัด (มหาชน)  ได้จัดกิจกรรมและประโยชน์ต่อสังคม  ดังนี้
1.               โครงการปลูกหญ้าแฝก
2.               รางวัลลูกโลกสีเขียว
3.               โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์พลังงาน Generation P

06 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Mass Customer / Customer Relationship Management


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Mass Customer / Customer Relationship Management
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
                    การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการจะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายในการเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป CRM เข้ากับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังลดความสลับซับซ้อนที่อาจจะยังไม่ทราบได้ว่าจะเริ่มแก้จากตรงจุดไหน หน้าที่งานของระบบ CRM มักจะรวมถึง ระบบการบริหารการขาย ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ ระบบรองรับการบริการลูกค้า และระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center)
Customer Relationship Management (CRM)  เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับ
ลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
                    CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่าการบริหารลูกค้าสัมพันธ์  หมายถึง
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ(2546,12-13) กล่าวว่า คือ กิจกรรมการตลาดที่กระทำต่อลูกค้า อาจจะเป็นลูกค้าผู้บริโภคหรือลูกค้าคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายแต่ละรายอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจมีการรับรู้ที่ดี ตลอดจนรู้สึกชอบบริษัทและสินค้าหรือการบริการของบริษัท ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกิจกรรมการสื่อสารแบบสองทางมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win Strategy)  เป็นระยะเวลายาวนาน
คอตเลอร์ (Kotler,2003) อธิบายไว้ว่า ต้นทุนการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าต้นทุนการขายผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเดิมถึง 5 เท่า จึงต้องสร้างกลยุทธ์เครื่องมือผูกสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเดิม ความสำเร็จไม่ได้ปรากฏในรูปยอดขายเท่านั้น การที่ลูกค้ามีความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ ลูกค้าชั้นดีทำหน้าที่เป็นทูตพันธไมตรีกระจายข่าวสารทางบวกไปยังลูกค้าคาดหวังคนอื่น ๆ คอยปรับความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจากเสียงที่เป็นลบต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทอีกด้วย
DEAR Model

·        การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database)
·        การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronic)
·        การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Action)
·        การเก็บรักษาลูกค้า (Retention)
องค์ประกอบหลักทั่วไปของ CRM จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  3 ส่วน คือ
1.               Market Automation
2.               Sales Automation
3.               Customer Service

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
บริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการแสวงหาลูกค้า และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ( Customer Satisfaction ) โดยการสร้างกระบวนการทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าจำนวนผู้ประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สามารถนำแนวทางการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
ข้อดีของเครื่องมือ
·        มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ เพื่อวางแผนทางด้านการตลาดและการขาย
·        เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
·        เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน พนักงานทำงานได้อย่างรวดเร็ว
·        เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
·        สร้างความจงรักภักดี (Loyalty)  ของลูกค้าในระยะยาว
ข้อเสียของเครื่องมือ
·        การทำงานเป็นแบบอัตโนมัติอาจจะเกิดความผิดพลาดกระจัดกระจายและสร้างปัญหาตามมาอย่างต่อเนื่อง
·        ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือ Business Process ขององค์กรให้สอดคล้องกับแผนงาน
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (Customer Relationship Management : CRM )  ลักษณะการทำงานมี  4   ขั้นตอนดังนี้
1.               Identify     เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
2.               Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคนและจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่า ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3.               Interact  มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าและเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
4.               Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคนมีการนำระบบไอทีมาใช้กับ CRM เพื่อช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทาง ในการติดต่อกับลูกค้า โดย สถาปัตยกรรมของซอฟท์แวร์ด้าน CRM มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
มิสลิลลี่ ผู้นำด้านธุรกิจดอกไม้สด  ได้นำหลักกลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM  (Customer Relationship Management)  มาใช้ ในการสร้างตราสินค้า  ซึ่งทางบริษัทได้ทำการจัดเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาตลอดแล้วนำข้อมูล   ดังกล่าวมาพัฒนารูปแบบของการจัดดอกไม้ให้มีความหลากหลาย เน้นที่การออกแบบรูปทรง และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย    มีแบบดอกไม้ให้เลือก ที่เหมาะสมกับทุกโอกาส ทุกเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดงานรับปริญญาเทศกาลวันแม่  เทศกาลวันวาเลนไทน์ เป็นต้น

05 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Re-engineering



Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : Re-engineering
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
Michael Hammer and James Champy
     แนวความคิดของของ Adam  Smith ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจปัจจุบัน ด้วยสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากปัจจัยผันแปร 3 ประการ (3C)
    1.  ความสำคัญของลูกค้า (Customer)
    2.  สภาพการแข่งขัน (Competition)
    3.  การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Change)
Michael  Hammer and James Champy  ได้นิยามอย่างเป็นทางการของคำว่า “REENGINEERING” ไว้ในหนังสือ “รีเอ็นจิเนียริ่ง เดอะ คอร์ปอเรชั่น”  ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี  2536 ว่า
“Reengineering is the fundamental rethinking and radical redesign of business process to achieve dramatic improvements in critical, contemporary measures of performance, such as cost, quality, service, and speed.”
“รีเอ็นจิเนียริ่ง” (Reengineering)  หมายถึง “การพิจารณาหลักการพื้นฐานและการคิดแบบขึ้นใหม่ชนิดถอนรากถอนโคนของกระบวนการธุรกิจเพื่อบรรจุซึ่งผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่  โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุด  ซึ่งได้แก่  ต้นทุน คุณภาพ  การบริการและความรวดเร็ว”  คำนิยามศัพท์ที่เป็นหัวใจหลักสี่คำด้วยกัน
องค์ประกอบ ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ
-                   ปัจจัยที่ 1  :  พื้นฐาน (Fundamental)
-                   ปัจจัยที่ 2 :  ถอนรากถอนโคน (Radical)
-                   ปัจจัยที่ 3  :  ยิ่งใหญ่ (Dramatic)
-                   ปัจจัยที่ 4  :  กระบวนการ (Processes)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                   ใช้เพื่อยกระดับโครงสร้างขององค์กร
-                   ใช้เพื่อปรับกระบวนการทำงาน  การไหลของข้อมูล (work flow)
-                   ใช้เพื่อการปรับภาพลักษณ์องค์กร
-                   สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้น
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   สามารถลดขั้นตอน  ทำงานได้หลาย ๆ ช่วงการบังคับบัญชาสั้นลง
-                   ด้านอำนาจและความรับผิดชอบ ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น
-                   ก่อให้เกิดการขยายงานอย่างเป็นระบบ เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
-                   ก่อให้เกิดการประหยัดในการดำเนินการทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
-                   มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
-                   เจ้าหน้าที่หรือพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   จะใช้เงินลงทุนสูง
-                   การใช้เวลาในการวิเคราะห์กระบวนการใช้ระยะเวลานานเกินไป
-                   เกิดแรงต่อต้าน
ขั้นตอนในการทำ Re-engineering
1.             Re-think       คิดแบบใหม่เพื่อค้นหารากเหง้าของปัญหา
2.             Re-design     ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่
3.             Re-tool          นำอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองงานแบบใหม่
4.             Re-train         ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ธนาคารกสิกรไทย ต้องการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (Universal Banking)  จึงมีการนำ   Reengineering  มาใช้ โดยให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้า  การบริการที่รวดเร็ว  มีการเปิดตัวกลุ่มทางการเงิน "K Excellence"  ได้จัดแบ่งสายงานใหม่ออกเป็น 8 สายงาน (ปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สายงาน) แบ่งกลุ่มลูกค้าใหม่ (Segmentation) ออกเป็น 7 กลุ่ม และภายใต้การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) ธนาคารยังเลือกแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Domain) ออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อสะดวกต่อการนำเสนอที่ก่อประโยชน์สูงสุดกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม
ที่สำคัญที่ธนาคารได้ทำการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ก็เรื่องชื่อของธนาคาร เพื่อไม่ให้ลูกค้าต่างชาติ หรือ นักธุรกิจต่างชาติ เข้าใจผิด คิดว่า ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารเพื่อกสิกร หรือ ชาวนาเท่านั้น ทางธนาคารกสิกรไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนชื่อเรียกธนาคารใหม่ในภาษาอังกฤษว่า ธนาคารกสิกรไทย Kasikorn Thai Bank หรือพยายามใช้ชื่อย่อว่า K-Bank โดยพยายามเน้นที่ตัว K ซึ่งก็คือ กสิกร ให้มีความโดดเด่น ผู้เขียนคาดว่าในอนาคต ธนาคารกสิกรไทย อาจจะปรับเปลี่ยนอีก โดยเรียกเป็น เค-แบงก์ แทนกสิกรไทยเลย จะได้ไม่มีคราบของธนาคารชาวนาหลงเหลืออยู่

04 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Knowledge Management : KM



Framework Management Tool Box ด้าน Organizing  :   Knowledge Management : KM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ เก็บรักษา แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ความชำนาญทุกรูปแบบ เช่น เอกสาร แฟ้มงานในคอมพิวเตอร์ หรือตัวบุคคลากร ภายในองค์กรภาครัฐและเอกชน หรืองานด้านธุรกิจการค้าและบริการ โดยพัฒนาและบริหารจัดการระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างยั่งยืน อย่างน้อย 4 ประการ คือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน และเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
องค์ประกอบของ Knowledge Management

องค์ประกอบของ KM
-                   Data (ข้อมูล) ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง หรือตัวเลขต่างๆที่ยังมิได้มีการวิเคราะห์ แปล ความ
-                   Information (สารสนเทศ) ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์
-                   Knowledge (ความรู้) สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนเกิดความเข้าใจ นำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
-                   Wisdom (ปัญญา)  ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1.              เปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน เทคนิคในการบริหารงานแบบเก่า เช่น การบริหารงานโดยรวม (TQM) การรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารองค์กร แต่เทคนิคเหล่านี้ไม่สามารถพัฒนาความชาญฉลาดขององค์กรได้ จึงได้นำการจัดการความรู้เข้ามาใช้
2.             การเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด ในการแข่งขันด้านการตลาดเทคนิคการการขายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจจึงต้องมีการพัฒนาฐานความรู้ในองค์กร
3.             เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
4.             สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ช่วยให้องค์กรลดงบประมาณในการทำงานได้
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ผลสัมฤทธิ์ของงาน เกิดผลสำเร็จในงานระดับดีขึ้น และอาจจะได้นวัตกรรมของงานใหม่ๆ
-                    เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้บุคคลสู่ชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงาน
-                   มีการจัดระบบความรู้ และพร้อมนำไปใช้ประโยชน์
-                   องค์กร มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้มแข็ง พร้อมแข่งขัน
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ความไม่ชัดเจนในการถ่ายทอดความรู้
-                   การกระจายของแหล่งข้อมูล ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
-                   ขาดการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ สร้างประโยชน์แก่องค์กร
-                   ขาดการจัดการความรู้เดิม ทำให้เสียประโยชน์จาการใช้งาน
-                   การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้ อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก
-                   ความรู้ในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)

1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation Acquisition)
2. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage)
3. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)
4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีระบบการจัดการความรู้ที่โดดเด่นในประเทศไทย มีแนวคิดเรื่อง KM ที่ต่างออกไป กล่าวคือ การจัดการความรู้จะใช้หลัก Management by Knowledge  คือการจัดการธุรกิจโดยอาศัยความรู้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกองค์กรมาใช้ในการจัดการและมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการความรู้ภายในองค์กร 1) ใช้เพื่อการสร้าง Infrastructure 2) ด้านการจัดการฐานข้อมูล (Database) 3) ใช้เพื่อนำมาสร้างเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้ ทำให้องค์กรสามารถรักษาคุณภาพและความเป็นเลิศในธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจขยายออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างมั่นคง

03 Framework Management Tool Box ด้านOrganizing : Team Development


Framework  Management  Tool  Box  ด้านOrganizing  : Team Development
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
Joseph M. Putti (อ้างถึงใน จิราภรณ์  สีขาว, 2541. 2) กล่าวว่า การทำงานเป็นทีมนั้น ผลงานที่ได้จากทีมจะมากกว่าผลงานของแต่ละคนที่ทำงานคนเดียวมารวมกัน  ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุด ในการปรับปรุงประสิทธิผลในการทำงานมีอยู่หลายกรณีที่ผลงานออกมาดีกว่าและประหยัดกว่ากลุ่มย่อย จะมีความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมมาก จึงเป็นผลให้สมาชิกกลุ่มพร้อมที่จะร่วมในกิจกรรมกลุ่ม และเมื่อมีส่วนร่วมก็มีความผูกพันและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างดี และถ้ามุ่งปรับปรุงคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อกันระหว่างสมาชิกของกลุ่ม และมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับงานที่กลุ่มกำลังทำ จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการขององค์การเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปสู่การพัฒนาทีมงานได้ โดยต้องอาศัยเทคนิค วิธีการหลายอย่างที่จะสร้างทีมงานให้เข้มแข็ง และพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อองค์การที่เข้มแข็งต่อไป
กระบวนการเบื้องต้นในการพัฒนาทีมงาน ต้องมีหลักการ (Principle) และเทคนิค ที่เหมาะสม ตัวแบบซึ่งแสดงความต่อเนื่องและความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบต่าง ๆ
1.               เริ่มจากการสร้างความไว้วางใจกัน
2.               พูดจากันอย่างเปิดเผย
3.               หันหน้าเข้าปรึกษาหารือกันได้
4.               เสริมความร่วมมือกันอย่างแข็งขันให้มากขึ้น
5.               ติดตาม สร้างเสริมการพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การพัฒนาทีมงาน( Team development) การพัฒนาทีม คือ ความพยายามอย่างมีแผน เพื่อเปลี่ยนแปลงทีมงานให้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1.               ประสิทธิภาพของงาน (Efficiency) ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งคุณภาพของคนทำงานทีม แต่ความสำเร็จของงานตรงนี้จะอยู่ที่ความพึงพอใจ ความภูมิใจของสมาชิก
2.               ตัวผู้นำ  (Leader) โดยผู้นำจะต้องเป็นตัวเชื่อมและประสานให้เกิดการทำงานร่วมกันของสมาชิก
3.               กระบวนการหรือวิธีการทำงานเป็นทีม (Procedure) มีการเตรียมการ มีการวางแผน มีหลักเกณฑ์และแนวทางในการทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มงานจนเสร็จการปฏิบัติงาน
4.               ความรับผิดชอบ (Responsibly) ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในหน้าที่ บทบาทในการทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเต็มความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ตลอดเวลาทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในทีมเดียวกัน
5.                การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการมีส่วนร่วมในการทำงาน ทุกคนต้องมีความรู้สึกว่างานเป็นของตนเอง มีการประสานงานกันอย่างเต็มที่จนสำเร็จ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การ ได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
-                    เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้มีความรู้และความสามารถสูงขึ้น
-                    เพื่อสร้างความไว้วางใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกและระหว่างกลุ่มหรือทีมงาน
-                    มุ่งเน้นการเพิ่มความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์การ
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ได้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมาย
-                    มีการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มอยู่เสมอและทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
-                    เพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ
-                    ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง
-                    ทำให้องค์การสามารถดำเนินการ  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    วัฒนธรรมองค์กรเก่าที่ครอบงำ และขวางกั้นการเปลี่ยนแปลง
-                    พนักงานไม่เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลง
-                    ขาดจุดมุ่งเน้นระหว่างดำเนินการเปลี่ยนแปลง
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action research model)
                     ขั้นตอนที่ 1   การตระหนักรู้ถึงปัญหา
                     ขั้นตอนที่ 2   การเก็บรวบรวมและตรวจวินิจฉัยข้อมูล                                                    เบื้องต้น
                     ขั้นตอนที่ 3   การให้ข้อมูลป้อนกลับและการตรวจ                                       วินิจฉัยร่วมกัน
                     ขั้นตอนที่ 4   การวางแผนร่วมกันและการปฏิบัติตามแผน
                     ขั้นตอนที่ 5   การเก็บรวบรวมและตรวจวินิจฉัยข้อมูล อีกครั้งหนึ่งหลังจากปฏิบัติตามแผนในข้อ 4
2.               แม่แบบการสร้างทีมงาน  (Team building model)
                                ขั้นตอนที่ 1            การวินิจฉัยเบื้องต้น
                                ขั้นตอนที่ 2            การรวบรวมข้อมูล
                                ขั้นตอนที่ 3            การตรวจสอบข้อมูล
                                ขั้นตอนที่ 4            การวางแผนปฏิบัติงาน
                                ขั้นตอนที่ 5            การสร้างทีมงาน
                                ขั้นตอนที่ 6            การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
                                ขั้นตอนที่ 7            การประเมินผลและติดตามผล
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
สำนักงานก.พ.  มีการนำเครื่องมือ Team Development  มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการทำงานเป็นทีมของพนักงานราชการ   อันได้แก่ ในการติดต่อสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเป็นผู้นำ การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ การชี้นำทีมงาน และการบริหารความขัดแย้ง และหน่วยงานควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีม

02 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : HRM


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : HRM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์  (Human Resource Management : HRM)  แต่ก่อนใช้คำว่าการบริหารงานบุคคล (Personnel Management : PM) ซึ่งจริง ๆ แล้วสองคำนี้เหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้  เนื่องจากมีลักษณะหน้าที่งานอย่างเดียวกัน เพียงแต่ HRM จะมีความหมายครอบคลุมมากกว่าและเพื่อให้เหมาะสมกับการที่จะเข้าไปดูแลมนุษย์ก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานตั้งแต่เริ่มต้น จึงใช้คำว่า HRM แทน PM นั่นเอง
HRM มองการบริหารงานบุคคลในแนวลึก หมายความว่า  HRM ไม่ได้เริ่มสร้างหรือเปลี่ยนนิสัยคนเมื่อเข้ามาอยู่ในองค์กร แต่จะเริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องดูแลตั้งแต่ในสถาบันครอบครัวตั้งแต่เกิด โดยทำการบริหารคน  ตั้งแต่ตอนแรกที่เขายังไม่ได้เป็นบุคลากร เป็นเพียงแค่ทรัพยากรบุคคล กำลังคน เป็นมนุษย์ที่มีค่า ซึ่งหวังว่า  วันหนึ่งเขาจะเป็นพนักงานขององค์กรธุรกิจ  แนวคิดในแนวกว้างของ HRM สิ่งที่เน้นมากที่สุดคือ การดำเนินหน้าที่ต่างๆ (เหมือนกับ PM)  จำเป็นต้องพิจารณาภาวะแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ  (การแข่งขันในตลาดโลก)  สังคม (โครงสร้างประชากร)  กฎหมายที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้  HRM ยังเน้นกลยุทธ์ของการบริหาร  ในแต่ละหน้าที่ (Function) ว่าจะต้องปรับให้สอดคล้องซึ่งกันและกันกับสภาวะ

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์  (Human Resource Management : HRM)   หมายถึง   กิจกรรมด้านบริหารงานบุคคล/การพนักงาน/บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ครอบคลุมในภารกิจ 4 ด้าน
1.               ด้านการสรรหาพนักงาน เช่น การรับสมัคร การทดสอบ การสัมภาษณ์ การว่าจ้าง การบรรจุ และการทดลองปฏิบัติงาน เป็นต้น
2.               ด้านการพัฒนาซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาพนักงาน (การฝึกอบรมและพัฒนา) การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาองค์กรเป็นต้น
3.               ด้านการรักษาพนักงานในส่วนค่าตอบแทนความก้าวหน้าในตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน สวัสดิการ และผลประโยชน์เกื้อกูล การสื่อสัมพันธ์ สุขอนามัย ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น
4.               ด้านการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การออกแบบงาน การกำหนดตำแหน่ง การวิจัย และการตรวจสอบด้านทรัพยากรบุคคลเป็นต้น
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1.               ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2.               ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขึ้น
3.               ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้ดีขึ้น
-                    ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการประสานงานทั้งด้านกิจกรรมทรัพยากรมนุษย์และวัตถุประสงค์ขององค์การในอนาคต
-                    ช่วยให้ประสบผลสำเร็จด้านการประหยัดในการจ้างบุคลากรใหม่
ข้อเสียของเครื่องมือ
                อาจมีระบบอุปถัมภ์
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)


1.               การวางแผนกำลังคน
2.               การสรรหา
3.               การคัดเลือก
4.               การปฐมนิเทศ
5.               การทดลองงาน
6.               การบรรจุคนเข้าทำงานและการเลือกตั้ง
7.               การฝึกอบรม
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
มีการนำเครื่องมือ  การบริหารทรัพยากรมนุษย์  (Human Resource Management : HRM)  มาใช้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่และมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย

01 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Organizing Core Competency


Framework Management Tool Box ด้าน Organizing  :   Organizing Core Competency
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา

สำหรับจุดกำเนิดของ Competency  เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2513 เมื่อ บริษัท McBer ได้รับการติดต่อจากกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐ ฯ ให้ช่วยคัดเลือก Foreign Service Information Officer (FSIOs) หรือ เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของสหรัฐ ฯ ที่คอยเผยแพร่วัฒนธรรมและเรื่องราวของประเทศสหรัฐ ฯ ให้กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหน้าที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวเกือบทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้ กต.สหรัฐฯ ได้คัดเลือกด้วยวิธีใช้แบบทดสอบที่มุ่งทดสอบด้านทักษะ แต่บุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกนั้นกลับได้ไม่มีความสามารถไม่ตรงตามที่ กต.สหรัฐ ฯ ต้องการ จึงได้ว่าจ้าง บริษัท McBer มาทำการคัดเลือกบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของ กต. โดยการคัดเลือกได้เปรียบเทียบและแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ ปฏิบัติงานตามเกณฑ์เฉลี่ย (Average Performer) และปฏิบัติงานดี (Superior Performer) การแยกบุคลากรดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดแนวความคิดที่เรียกว่า Competency ที่หมายถึง พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติงาน
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
สมรรถนะ (Competency )  เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “Competency คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ” นอกจากนี้ เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ยังได้กล่าวถึง องค์ประกอบของ Competency 5 ประการคือ
1)              ทักษะ (Skills) : เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลทำได้ดีและสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้
2)              ความรู้ (Knowledge) : หมายถึงความรู้เฉพาะด้านของบุคคล
3)              ทัศนคติ ค่านิยมและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (Self-concept) : เป็นสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น
4)              บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (Trait): เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น
5)              แรงขับภายในของแต่ละบุคคล (Motive) : เป็นสิ่งที่จะทำให้บุคคลแต่ละบุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายของเขา

 เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
ใช้ในการคัดเลือกและคัดสรรบุคลากร (Recruitment and selection)  การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development )และใช้ในการให้รางวัล (Reward)
ข้อดีของเครื่องมือ
ช่วยในการการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การวางแผนฝึกอบรม  การวางแผนพัฒนากำลังพล  การกำหนดค่าตอบแทนและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
 ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)


มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
มีการนำเครื่องมือ  Core Competency   มาใช้อย่างแพร่หลาย  ตัวอย่างองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่นำเอา Core competency มาใช้จนก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันคือ บริษัท เดลคอมพิวเตอร์คอร์ปเปอเรชั่น คือจุดเด่นในการประกอบธุรกิจของ Dell  มีผลประกอบการที่ดีและได้กำไรมาโดยตลอด ในช่วงที่ศึกษาหัวใจของการมีผลประกอบการที่ดีดังกล่าว เกิดจากการใช้ระบบ Built To Order แทนการผลิตล่วงหน้าเพื่อจำหน่ายตามปกติ

13 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Value Based Management : VBM


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading :  Value Based Management : VBM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การบริหารแบบเน้นมูลค่าหรือ VBM  สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาในครั้งแรกจากอัลเฟรด  มาร์แชล (Alfred  Marshall)  นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ  ผู้เขียนหนังสือ Principles of Economics ในปี ค.ศ. 1890 เรื่องกฎของอุปสงค์และอุปทาน (Law of Demand and Supply)  อัลเฟรด  มาร์แชล  เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องมูลค่าเพิ่ม  โดยกล่าวในหนังสือไว้ตอนหนึ่งว่า ว่า  “ส่วนที่เรียกว่า  กำไรของเจ้าของนั้น  แท้จริงแล้วคือส่วนที่เหลือ  เมื่อนำรายได้ไปหักต้นทุนของเงินทุน  เช่น  ดอกเบี้ยเงินกู้ ณ อัตราปัจจุบันแล้ว  เงินรายได้ส่วนที่คงเหลือนี้จึงจะเรียกได้ว่า  เป็นกำไรจากการบริหารโดยแท้จริง”
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การบริหารเชิงมูลค่า (Value Based Management : VBM) คือการบริหารที่เน้นมูลค่า เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว เน้นการบริหารเงินทุนของนักลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพ  เช่น ผู้บริหารจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่าที่สุดในการลงทุน และสร้างผลตอบแทนให้มากกว่าค่าเสียโอกาส จึงจะถือว่า คุ้มค่าต่อเงินลงทุน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
 องค์ประกอบต่าง ๆ ภายนอกกรอบสามเหลี่ยมที่การบริหารจัดการแบบเพิ่มมูลค่าจะต้องคำนึงถึง  ในขณะที่ภายในกรอบสามเหลี่ยมซึ่งมี 3 ระดับ  เวลาพิจารณาการบริหารแบบเพิ่มมูลค่าต้องจับมาเป็นแก่นทั้ง 3 ระดับ  ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกกรอบสามเหลี่ยม

ที่มา : 2002-2003 J.M.M. de Jonge Management Advies
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   Colaboration ทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
-                   Compensation  การตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติงานตามผลงานเหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
-                   Cost  ทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงและมีกำไรมากขึ้น
-                   Capital  ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ใช้ระยะเวลาในการจัดทำนาน
-                   พนักงานเกิดแรงต้าน  เนื่องจากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การปรับอัตราค่าจ้าง, การจ่ายโบนัสจะอิงจากผลงาน
-                   เกณฑ์ในการชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน  หากไม่ได้สัดส่วนเท่ากันทุกฝ่ายก็จะเกิดการเลื่อมล้ำในการวัดผล
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำ VBM มาใช้ในองค์กร คือ การช่วยปรับวิธีปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานในองค์กรให้สอดคล้องกันและเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นและองค์กรเป็นหลัก
ฝ่ายบริหารจะใช้กลยุทธ์นี้เพื่อการวางแผนและปรับกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Competitive Advantage) อันจะเป็นการผลักดันให้องค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)  มีการนำ VBM มาใช้ 5 Element (Strategic  Planning,  Resource  Allocation, Performance Measurement and Evaluation, Incentive Compensation, Investor Communication)  ใช้เวลา 5 ปี หลาย ๆ อย่างภายในองค์กรก็เริ่มฟื้นฟูในทางที่ดีขึ้น โดยสะท้อนจากรายได้จากการขาย

12 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : PDCA


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : PDCA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับวงจร PDCA เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักสถิติ Walter Shewhart ซึ่งได้พัฒนาจากการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติที่ Bell Laboratories ในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1930 ในระยะเริ่มแรก วงจรดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วงจร Shewhart" จนกระทั่งราวทศวรรษที่ 1950 ได้มีการเผยแพร่อย่าง กว้างขวางโดย W.Edwards Deming ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารคุณภาพ หลายคนจึงเรียกวงจรนี้ว่า " วงจร Deming " และคนทั่วไปนิยมเรียกว่า PDCA Cycle
PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้น คือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม PDCA อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยตลอด
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
PDCA  คือวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย



-                   P = Plan  คือการวางแผนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่เราได้กำหนดขึ้น
-                   D = Do  คือการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
-                   C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง
-                   A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
เมื่อได้แผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ(C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปเรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
PDCA เป็นวงจรของการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุกวงการ ทุกองค์กร ทุกระดับและทุกคน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านคุณภาพของงาน หรือผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของเครื่องมือ
1.             ค่าใช้จ่ายลดลง เพราะความผิดพลาดลดลง ลดความล่าช้า ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไข และของเสียลดลง
2.              ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพราะใช้ปัจจัยนาเข้าน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้นกว่าเดิม
3.             ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น เพราะคุณภาพสูงขึ้น
4.             ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ปรารถนา
5.             ทำให้เกิดความแจ่มใสชัดในการดำเนินงาน ไม่มีองค์การใดที่ประสบความสำเร็จได้  โดยปราศจาก

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
การนำ PDCA ไปใช้ของมหาวิทยาลัยพายัพ   มหาวิทยาลัยพายัพดำเนินการควบคุมคุณภาพภายของการดำเนินงานในส่วนของปัจจัยนำเข้า  (Input) กระบวนการผลิต (Process)  ผลผลิต (Output) และผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน (Outcome) โดยกำหนดตัวบ่งชี้ภายใต้  IPOO  ครอบคลุมกับองค์ประกอบคุณภาพของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกของสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพภายใน ประเมินคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นกระบวนการในวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Quality Cycle of Deming’s Theory: PDCA)

11 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Risk Management


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Risk  Management
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การบริหารความเสี่ยง หมายถึง วิธีการบริหารจัดการที่เป็นเหตุเป็นผลที่นำมาใช้ในการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน เพื่อการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและลดผลเสียของความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรให้เหลือน้อยที่สุดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานของโครงการแต่ละขั้นตอนไว้ก่อนล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจัดการความเสี่ยง

1.                                 การยอมรับความเสี่ยง ( Risk Acceptance )
2.                                 การลด / การควบคุมความเสี่ยง ( Risk Reduction )
3.                                 การกระจายความเสี่ยง ( Risk Sharing )
4.                                 การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ( Risk Avoidance )

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
เพื่อให้ผลการดำเนินงานขององค์กรบรรลุตามเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด เพราะความเสี่ยงเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กร ผิดพลาดล้มเหลวและให้ผลทางลบ ทั้งในด้านชื่อเสียง ความเชื่อมั่นและความมั่นคง โดยเฉพาะในองค์กรบางประเภทการบริหารความเสี่ยงถ้าจะให้สัมฤทธิ์ผลนั้น จะต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่สามารถแสดงผล ทันทีและติดตามผลได้ต่อเนื่อง ทำให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นได้ทันกาล
ข้อดีของเครื่องมือ
1.             การจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
2.             ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงทีมี  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับการขยายผล
3.             มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
4.             ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
5.             ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในงานต่าง ๆ โดยอาศัยการสร้างความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและเรื่องอันเป็นสาระที่เกิดผลกระทบต่อธุรกิจและความสำเร็จของการบริหาร      กลยุทธ์ขององค์กร
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ขาดระบบในการบริหารที่ชัดเจน
-                   ผู้บริหารปิดกั้นและไม่ยอมรับรู้
-                   ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                การบริหารความเสี่ยงมีการนำมาใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย

10 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Outsourcing


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Outsourcing
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิด Outsourcing นี้ เดิมมักจะใช้กับงานทำความสะอาดสำนักงาน งานรักษาความปลอดภัย แต่ปัจจุบันนิยมนำ Outsourcing มาใช้กับงานต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ การจัดห้องอาหารสำหรับพนักงานหรืองานเลี้ยง, งาน Call Center, งานป้อนข้อมูล, งานธุรการ
การจ้างงานภายนอก  (Outsourcing) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่หลายบริษัทใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะการ Outsource งานที่บริษัทไม่ถนัด ทำไม่ทัน หรืองานที่ต้องลงทุนสูงออกไปให้บริษัทที่มีความพร้อมและความชำนาญกว่าเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบแทน จะช่วยให้บริษัทมีเวลาในการดูแลงานอื่นๆ ที่สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้บริษัท และช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ความหมายของการ Outsourcing ดังนี้
Outsourcing  หมายถึง “The Practice of Subcontracting Manufacturing Work to Outside and Especially Foreign or Nonunion Companies” กล่าวคือ เป็นหลักปฏิบัติในการทำสัญญาให้หน่วยงานภายนอก ผลิต/บริการแทนโดยเฉพาะการให้บริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทที่ไม่มีสหภาพแรงงาน (Merriam-Webster Incorporated, 1996, p. 827)
 Heywood (2001, p. 27) ให้ความหมาย “การจ้างงานภายนอก” คือ การส่งต่อกิจกรรมทางธุรกิจหรืองานภารกิจภายในองค์การพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ให้บริการจากภายนอกองค์การที่เสนอให้บริการงานนั้นๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตามที่ได้ตกลงด้วยราคาค่าจ้างที่เหมาะสม
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    ภาวการณ์แข่งขันสูง ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ มีคู่แข่งเยอะขึ้น การทำ Outsource จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
-                    ต้องการประหยัดต้นทุน
-                    ต้องการผู้เชี่ยวชาญ
-                    ต้องการกำลังคน บางบริษัทอาจจำเป็นต้อง Outsource เพราะพนักงานของตนไม่เพียง
ประเภทของ Outsource
1.               IT การ Outsource ทางด้านไอทีจะง่ายมาก
2.               Service หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทำความสะอาด บริการรักษาความปลอดภัยดูแลอาคารสถานที่ เป็นต้น
3.                Manufacturing การผลิต เป็นสิ่งที่ใช้การ Outsource มากที่สุด
4.               Project โครงการต่างๆ สามารถ Outsource ได้
5.               5. Consult การจ้างที่ปรึกษา เช่น ที่ปรึกษาทางด้านบัญชี ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน เป็นต้น
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    Free Management time ผู้บริหารมีเวลาที่จะไปบริหารจัดการบริษัทมากขึ้น
-                    Reduced Staff Cost ลดต้นทุนทางด้านบุคลากรและทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานลดลง
-                    Increased Flexibility เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน
-                    Reduced Risk ลดความเสี่ยง ความเสี่ยงจะตกอยู่ที่บริษัทหรือผู้รับจ้าง Outsource ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจ ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในทุกเรื่องควรทำข้อตกลงกำหนดไว้ด้วย
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    บริษัทที่ outsourcing เข้ามา ประสิทธิภาพในการทำงานไม่คงที่ เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนชุดทำงานบ่อย
-                    ความรู้สึกผูกพันและความรับผิดชอบต่อองค์กรของพนักงานที่ว่าจ้างเข้ามามีน้อย เนื่องจากลักษณะงานเป็นการทำสัญญาว่าจ้างระยะสั้น
-                    กระบวนการสรรหา คัดเลือกบุคลากรของบริษัทที่องค์กรจ้างเข้ามา มักได้บุคลากรที่ขาดคุณสมบัติและมีการฝากเข้ามาร่วมงาน ทำให้คุณภาพของบุคลากรต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์กรกำหนดไว้
-                    ต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานควบคุมดูแลบริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาในแง่ของประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้องค์กรไม่เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายจริง
-                    ความไว้วางใจ การเก็บรักษาความลับ การ Outsource อาจทำให้ความลับของบริษัทรั่วไหลได้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               กลยุทธ์ (strategy) การจ้างงานภายนอกเป็นนโยบายที่โดยทั่วไปจะถูกกำหนดมาจากผู้บริหารระดับสูง
2.               การทบทวนการประเมินผล (reassessment) การประเมินองค์การจะต้องทำการประเมินเพื่อทำให้ทราบถึงศักยภาพสำหรับทำการจัดการก่อนที่จะทำการจ้างงาน ภายนอก
3.               การคัดสรร (selection) ซึ่งรวมถึงการกำหนดขอบเขตข้อกำหนดของการจ้างงานภายนอก
4.               การเจรจา (negotiation)  เงื่อนไข ข้อตกลงต่าง ๆ จนกระทั่งกระบวนการดำเนินการถึงขั้นตอนการลงนามสัญญาจ้าง            
5.               การสนับสนุนการดำเนินการ (implementation) เป็นกระบวนการหลังจากที่ได้ข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างแล้ว ยังรวมถึงการวางแผนด้วยและมีการตั้งงบประมาณสำหรับการวางแผนและการจัดการ
6.               การบริหารการควบคุม (oversight management) การควบคุมการจัดการกระบวนการที่เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่ทิศทางของการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการและถูกต้องได้ผลดี
7.               ความสมบูรณ์ของงาน (build completion) กระบวนการนี้จะทำให้กระบวนการต่าง ๆ นั้นสมบูรณ์            
8.               การเปลี่ยนแปลง (change) สัญญาว่าจ้างควรที่จะมีการระบุไว้เกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงหลักหรือย่อยไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของการลงนามในสัญญาว่าจ้าง เพื่อมีไว้ควบคุมความได้เปรียบเสียเปรียบของทั้งสองฝ่าย
9.               ทางออก (exit) หลังจากการสิ้นสุดของการจ้างงานภายนอก องค์การอาจจะมีการรับทำต่อ (take over) จากผู้ให้บริการ ด้วยเหตุผลทางด้านการเงินหรือข้อตกลงอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วจะมีการยื่นข้อเสนอใหม่ (re-tender)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท IKEA การผลิตเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของโลกมีการใช้ Outsource หรือการจ้างกิจการภายนอก ให้ทำการผลิตสินค้าและชิ้นส่วนต่างๆให้นั่นเอง จะทำการพิจารณาคัดเลือกประเทศที่จะเป็นผู้รับจ้างผลิตอย่างเคร่งครัด จากนั้นจะทำการเฟ้นหาบริษัทที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะมารับคำสั่งซื้อ โดยพิจารณาจากความพร้อมทางเทคโนโลยี ทักษะแรงงาน เงินทุนและผลงานย้อนหลังที่ผ่านมาว่าเป็นที่น่าพอใจต่อกิจการหรือไม่ แล้วจึงมาทำการเจรจาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้รับจ้างผลิตให้กับสินค้าของตน  หากผ่านการคัดเลือกและเจรจากับ IKEA แล้ว จะได้รับการสนับสนุนเต็มที่ โดยจะยึดนโยบายที่จะพัฒนาผู้รับจ้างให้มีความสามารถและศักยภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย โดยจะให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุน

09 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Blueprint for Change


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Blueprint for Change
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
-                    ในกระบวนการของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ให้มุ่งเน้น การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนผู้รับบริการ ข้าราชการ พนักงาน หรือสังคมส่วนรวม
-                   ทฤษฏีที่นำมาปรับใช้ คือ การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ “องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์” (Strategy-Focus Organization) เป็นแนวคิดของนักคิดชาวอเมริกัน Robert Kaplan และDavid Norton โดยใช้เทคนิคของ Balanced Scorecard มาต่อยอด เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมุ่งเน้นที่กลยุทธ์เป็นหลักและใช้หลักการอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map)

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change)  หมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับ พร้อมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามเป้าหมาย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549ข)

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนและผลักดันให้ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเกิดผลทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเด็น คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพ การพัฒนาคุณภาพ และการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กร

ข้อดีของเครื่องมือ
-                   เกิดการสร้างตัวแบบการดำเนินงาน (operating model) และออกแบบกระบวนการในอนาคต (to-be process mapping) ที่มีความชัดเจน
-                   มองเห็นภาพรวมของขั้นตอนหรือกระบวนงานที่จะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันไปตามกลยุทธ์ต่าง ๆ
-                   สามารถวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากร การยกระดับขีดสมรรถนะและคุณภาพองค์กรโดยรวม
-                   ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์การมีแผนและเป็นระบบมากขึ้น

ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   เน้นเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process) เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงมิติอื่น
-                   ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และการประเมินภายนอกยังเป็นเพียงการประเมินจากเอกสาร
-                   Blueprint for Change เป็นเครื่องมือที่บังคับใช้กับทุกส่วนราชการ ทำให้ส่วนราชการอาจเกิดความรู้สึกว่าต้องการทำตามแบบฟอร์มไปเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีผลต่อการปรับปรุงองค์การอย่างแท้จริง
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
กระบวนการในการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน



มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ บรรยาย ในการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2548 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ ฯ
กรณีศึกษา
หน่วยงาน ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) ได้นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความพร้อมการสนับสนุนและผลักดันยุทธศาสตร์ของราชการให้เกิดผลทางปฏิบัติ และสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยเป็นตัวชี้วัดของการปฏิบัติงานราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ในมิติที่ 4 คือ มิติด้านการพัฒนาองค์กร เรื่องความสำเร็จและคุณภาพของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของจังหวัด/ส่วนราชการ

08 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Change Management


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Change Management
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงเป็นเทคนิคการจัดการ เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถหลักของผู้บริหาร ( Core Competencies ) ในยุคปัจจุบันที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ที่ช่วยทำให้ผู้บริหารสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต จะต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับองค์การที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวัง
แบล็คและพอร์เตอร์ (Black and Porter, 2000) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ  โดยให้ความสำคัญปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง  โดยแบ่งเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์การ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) คือการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์กร  เพื่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรและลดผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง อยู่รอดและเจริญก้าวหน้าไปได้
องค์ประกอบของการจัดการความเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้

 1.               กระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
-                     ละลายพฤติกรรม (Unfreeze)
-                    ปรับเปลี่ยน (Change)
-                    รักษาผล (Refreeze)
2.               กลยุทธ์การจัดการความเปลี่ยนแปลง
-                    กลยุทธ์แบบเผด็จการ
-                    กลยุทธ์แบบประชาธิปไตย
-                    กลยุทธ์แบบใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1.               เพื่อสนับสนุนให้องค์การสามารถผ่านช่วงของการปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างสำเร็จ
2.               เพื่อเพิ่มศักยภาพของหน่วยงาน และประกันว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามทิศทางที่ได้วางแผน และก่อให้เกิดความคุ้มค่า ประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ข้อดีของเครื่องมือ
                การเปลี่ยนแปลง ทำให้มีการปรับปรุงการทำงานให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม
ข้อเสียของเครื่องมือ
หากไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงจะทำให้คนเกิดการกลัวการสูญเสียอำนาจ  กลัวลำบาก  กลัวเสียประโยชน์ส่วนตน  รู้สึกผูกพันกับสิ่งเดิม ก็จะเกิดแรงต่อต้าน  ทำให้เกิดการต่อต้านจากคนในองค์การ
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
-                    ขั้นตอนที่ 1 : การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis)
-                    ขั้นตอนที่ 2 : การวางแผนโครงการการปรับเปลี่ยนองค์กร
-                    ขั้นตอนที่ 3 : การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ห้างโรบินสัน  มีการนำ Change Management  เข้ามาใช้โดยการเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ดังนี้คือ
-                    ทำการปรับปรุงสาขา สินค้า โดยแบ่งเป็นสินค้าจากซัพพลายเออร์และไพรเวทแบรนด์
-                    ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการของพนักงาน ณ จุดขาย
-                    ทำการริเริ่มพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ตอบสนองลูกค้า ทั้งรายการส่งเสริมการค้าและสินค้า
-                     ทำการการปรับเปลี่ยนการทำงาน สร้างทีมให้เดินอย่างเป็นระบบและจะทำงานอย่างมี

07 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Leadership


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Leadership
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ชักนำ (การจูงใจ)    พฤติกรรม = การกระทำใดๆที่คนๆนั้นแสดงออกมาให้คนอื่นได้เห็นและรับรู้ถึงความต้องการ
คำนิยามของผู้นำ
ผู้นำ(Leader)  บุคคลที่มีลักษณ์และคุณสมบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ โดยใช้อิทธิพล จูงใจ ให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
ลักษณะของการเป็นผู้นำ(Leadership Styles)
•                   ผู้นำแบบเจ้าระเบียบ (Regulative Leader)
•                   ผู้นำแบบบงการ (Directive Leader)
•                   ผู้นำแบบจูงใจ (Persuasive Leader)
•                   ผู้นำแบบร่วมใจ (Participative Leader)

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

ข้อดีของเครื่องมือ
1.             ความมีพลังและความทะเยอทะยาน (Energy and ambition)
2.             ความปรารถนาที่จะนำผู้อื่น (The desire to lead)
3.             ความเชื่อมั่นตนเอง (Self-confidence)
4.             ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5.              ความรอบรู้ในงาน (Job-relevant knowledge
ข้อเสียของเครื่องมือ
1.             ยังไม่มีความเป็นสากลที่สอดคล้องกับการเป็นผู้นำได้ดีในทุกสถานการณ์
2.              คุณลักษณะของผู้นำมักใช้ได้กับสถานการณ์ที่ขาดความชัดเจน
3.             ยังขาดความชัดเจนในแง่ความเป็นเหตุและผลต่อกัน เช่นผู้นำมีความเชื่อมั่นตนเองมาก่อน
4.             คุณลักษณะน่าจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำได้มากกว่าที่จะ ใช้แยกคนเป็นผู้นำออกจากคนที่ไม่ใช่ผู้นำ
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
กรณีศึกษา บริษัท ลินฟ้อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด  Leadership: A Case Study of Linfox (Thailand) Company Limited  โดย นิภาพร เจนกิจพาณิชย์กุล  
ผลการประเมินภาวะผู้นำในปัจจุบันเป็นภาวะผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อแบบภาวะผู้นำ ทั้ง 7 เรียงตามลำดับได้ดังนี้ ลักษณะของกระบวนการควบคุม ลักษณะของกระบวนการสื่อสาร ลักษณะการใช้กระบวนการผู้นำ ลักษณะของการกำหนดเป้าหมายการทำงานหรือการออกคำสั่ง ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ ลักษณะของกระบวนปฏิสัมพันธ์ซึ่งมีอิทธิต่อกัน ลักษณะของแรงจูงใจ ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

06 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Visioning


Framework  Management  Tool  Box  ด้าน Leading : Visioning
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ เป็นศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Technical Term) เกี่ยวกับการบริหารที่บัญญัติขึ้นจากคำว่า “VISION” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายทั่วไปแปลว่า “การเห็น หรือ ภาพ” แต่ในทางการบริหาร วิสัยทัศน์ (VISION) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ไกลที่สุด และชัดที่สุด
สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
สมมุติว่า V คือ วิสัยทัศน์ (VISION)
I คือ ภาพฝันในอนาคต (IMAGE) และ
A คือ การกระทำ (ACTION)
สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า V = I + A
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
วิสัยทัศน์ (Visioning) คือ กระบวนการกลั่นกรองค่านิยม ให้เกิดความชัดเจน มุ่งเน้นในพันธกิจ และมุ่งมั่นให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความชัดเจนให้กับค่านิยม การตรวจสอบสถานการณ์ปัจจุบัน การกำหนดพันธกิจ การสร้างวิสัยทัศน์ และการลงมือปฏิบัติ ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
1.               ค่านิยม คือ ปณิธานของหน่วยงานเพื่อการไปสู่ความสำเร็จ เป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมหน่วยงานซึ่งทำให้ทิศทางการดำเนินงานของบุคลากรมีทิศทางเดียวกัน และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
2.               การตรวจสอบ (Scanning) คือ การวินิจฉัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กรการสร้างความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่หน่วยงานอยู่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ ซึ่งการสำรวจสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย
3.               พันธกิจ (Mission) คือ จุดประสงค์หลักที่หน่วยงานได้สร้างขึ้นมา โดยมีการระบุไว้อย่างชัดเจน กะทัดรัด และสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
4.               การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) คือ วิถีสู่ความเป็นเลิศซึ่งหน่วยงานต้องการสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ด้วยการสร้างภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดการกระทำของบุคคล อันนำไปสู่ความเป็นไปได้นั้นๆ
5.               จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (Implementation) ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์แล้ว การวางแผนเพื่อการปฏิบัติจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการในการวิเคราะห์หาว่าหน่วยงานจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างจึงจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยชี้หนทางที่ดีที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์
คุณลักษณะที่ดีของการสร้างวิสัยทัศน์มีด้วยกันหกประการ ได้แก่
1.               Imaginable หรือภาพฝันในอนาคต
2.               Desirable หรือมีความดึงดูดและน่าสนใจสำหรับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน
3.               Feasible หรือมีโอกาสของความเป็นไปได้
4.               Focused หรือ มีความชัดเจนเพียงพอที่จะเป็นรากฐาน สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญขององค์กร
5.               Flexible หรือกว้างเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
6.               Communicable หรือสามารถที่จะสื่อสารได้อย่างง่ายและชัดเจน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
วิสัยทัศน์ เปรียบได้กับแม่ทัพที่มีกล้องส่องทางไกล เพื่อใช้ส่องดูความเป็นไปในสมรภูมิรบเบื้องหน้าว่าเป็นอย่างไร ควรใช้กลยุทธ์ใด ในการทาศึก จึงจะประสบชัยชนะ ดังนั้น ผู้บริการองค์กรที่ดี จาเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อกำหนดทิศทางวางนโยบายและกลยุทธ์ของการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ชี้ทิศทาง เป้าหมายในการทางานให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้
-                    เป็นตัวกำหนดขอบข่ายของงาน หรือภาระหน้าที่
-                    ทำให้บุคลากรต้องทำงานให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
-                     ต้องมีการสร้างขวัญกำลังและใจให้แก่ผู้ร่วมงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี
-                    ต้องมีการสร้างทีมงาน เพื่อให้การทางานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำวิสัยทัศน์ไปใช้ได้ 4 ระดับ คือ

1.               ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร
2.               ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
3.               การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่ เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร
4.               การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท ซีพีออล์ จำกัด (มหาชน)  วิสัยทัศน์  “เราให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน”
ธนาคารไทยพาณิชย์  วิสัยทัศน์  เราจะเป็น...”ธนาคารที่ลูกค้า   ผู้ถือหุ้น  พนักงานและสังคมเลือก”          
ดับเบิ้ลเอ  วิสัยทัศน์ ดั๊บเบิ้ล เอ มุ่งมั่นสู่การเป็นแบรนด์กระดาษคุณภาพของโลก สร้าง "กระดาษจากคันนา" เป็นมาตรฐานใหม่ที่ไม่เพียงมุ่งเน้นการผลิตกระดาษคุณภาพที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ทั่วโลก แต่ยังใส่ใจตั้งแต่วิธีคิด วิธีผลิตกระดาษที่เน้นถึงความยั่งยืนและไม่ทำของเสียให้เสียของ